Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5851
Title: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาสมถรรนะการอธิบานปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Phenomenon Based Learning for Developing Competency in Explaining Scientific Phenomena of the 8th Grade Students About Earth and It’s Change |
Authors: | Supitcha Natap สุพิชชา นาเทพ Thitiya Bongkotphet ธิติยา บงกชเพชร Naresuan University Thitiya Bongkotphet ธิติยา บงกชเพชร thitiyab@nu.ac.th thitiyab@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน สมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ โลกและการเปลี่ยนแปลง Learning Management Approach Based on Phenomenon Competencies in Explaining Scientific Phenomena Earth and It’s Change |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this research were to study learning management approach based on phenomenon to develop competency in explaining scientific phenomena about the World and it’s changing and to study the results of it while in class. The participants were 13 students of grade 8th. It's action research. The research instruments consisted of lesson plans, the activity results forms, and scientific explanation performance test. It is content analysis and the statistics used were mean and percentage. The research results revealed that the researcher should allow students to observe the phenomenon that is familiar and important to them, so that can keep students interested and active in learning, can explain between the phenomenon and the earth’s change, have them the opportunities to discuss, ask questions, brainstorm and work together so that they to can learn to solve the problem. The researcher had the students search for evidence from a variety reliable sources using various processes in order to use the information to solve the problem. Had the students do the discuss, analyze, and summarize in the groups, then create a task, experiments to present the issues in each concept. The result of developing competency in explaining scientific phenomena was found that it was a higher than before. The component that students developed the most was predicting and forecasting the reasonably phenomena with an average of 76.92 percent and explaining the potential of scientific knowledge that can be used for society with the lowest average of 61.53 percent. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 13 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบการสะท้อน ใบกิจกรรม และแบบวัดสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ผู้วิจัยควรให้นักเรียนสังเกตปรากฎการณ์โดยเป็นปรากฎการณ์ใกล้ตัวและมีความสำคัญกับนักเรียน ทำให้นักเรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกันอภิปรายและตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ส่งเสริมให้นักเรียน ระดมความคิด และทำงานร่วมกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การสืบค้นข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหา โดยผู้วิจัยให้นักเรียนดำเนินการสืบค้น และค้นคว้าหาหลักฐานจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์นั้นๆ โดยนักเรียนจะต้องนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา อภิปราย วิเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม จากนั้นสร้างเป็นชิ้นงาน ออกแบบการทดลองเพื่อนำเสนอตามประเด็นต่าง ๆ เพื่อสะท้อนความคิดรวบยอดของนักเรียน ส่วนผลการพัฒนาสมรรถนะอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ พบว่า มีระดับสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีการพัฒนาสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ในแต่ละองค์ประกอบเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยองค์ประกอบที่นักเรียนมีการพัฒนามากที่สุดคือ ทำนายและคาดการณ์แนวโน้มของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผลมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.92 และอธิบายถึงศักยภาพของความรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อสังคมมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 61.53 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5851 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SupitchaNatap.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.