Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5845
Title: | รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย AN EXPERIENTIAL LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR ENHANCING THE COMPETENCE OF DIGITAL MARKETERS IN SANGKHALOK MUANGPHRARUANG FOR HIGH SCHOOL STUDENTS |
Authors: | Palawach Pumpuang ปลวัชร พุ่มพวง Nattachet Pooncharoen ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ Naresuan University Nattachet Pooncharoen ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ Nattachetp@nu.ac.th Nattachetp@nu.ac.th |
Keywords: | การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สมรรถนะนักการตลาดดิจิทัล สังคโลก Experiential Learning Theory Digital Marketing Skills Chinaware |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research is a qualitative research (Qualitative Research) to develop an experiential learning management model to enhance the competency of digital marketers in Phra Ruang. For high school students The objectives are 1) to study the current state of the competence of Phra Ruang Celadon digital marketers, 2) to develop an experiential learning management model for enhancing the competence of Phra Ruang Celadon digital marketers for high school students. An establishment selling chinaware, Muang District, Sukhothai Province. and Sukhothai Wittayakhom School There were a group of 47 informants from a purposive sampling, including 5 digital chinaware entrepreneurs, 3 digital marketing experts, 15 chinaware shop customers, teachers in the social studies group. Religion and culture, 4 people and 20 students of Sukhothai Wittayakhom School. The research tools were 1) Behavioral interview form of Celadon entrepreneurs 2) Behavioral interview form for Celadon entrepreneurs customers 3) Expert interview form. digital marketer 4) social studies teacher interview form The researcher analyzed the qualitative data by using content analysis and descriptive writing synthesis from the study of the current state of performance of Phra Ruang digital marketers in Phra Ruang for high school students. It was found that the students still had insufficient digital marketer competencies. Nowadays there are changes in social media marketing. Students will need to understand the digital marketer competency content and apply the knowledge gained. Therefore, an experiential learning management model has been developed to enhance the competency of digital marketers in Phra Ruang. Digital Marketer Competency Plan (PMD) with experiential learning management (PMD Learning Management) as a conceptual framework for managing experiential learning as a process of creating knowledge related to creative events, a learning model 4 The steps that respond to contextual needs from the meaning of experiential learning are: 1) learning from direct experience 2) learning from observation and reflection 3) learning from abstract concepts 4) learning learn by experiment. งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สถานประกอบการจำหน่ายเครื่องสังคโลก อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 47 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการดิจิทัลสังคโลก จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล จำนวน 3 คน ลูกค้าร้านค้าสังคโลก จำนวน 15 คน ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 4 คน และนักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมของผู้ประกอบการสังคโลก 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมของลูกค้าผู้ประกอบการสังคโลก 3) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนักการตลาดดิจิทัล 4) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสังเคราะห์เขียนบรรยายเชิงพรรณนา จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ผู้เรียนยังมีสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลไม่เพียงพอ ขณะที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดโซเชียลมีเดีย ผู้เรียนจะต้องเข้าใจเนื้อหาเรื่องสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลและนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ จึงได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง แผนสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัล (PMD) ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (PMD Learning Management) มาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เป็นกระบวนการสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เชิงสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนที่ตอบสนองต่อความต้องการตามบริบทจากความหมายของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ได้แก่ 1) การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 2) การเรียนรู้จากการสังเกตและไตร่ตรอง 3) การเรียนรู้จากแนวคิดเชิงนามธรรม 4) การเรียนรู้โดยการทดลอง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5845 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PalawachPumpuang.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.