Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5844
Title: | การจัการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัลในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) PHENOMENON BASED LEARNING MANAGEMENT FOR THE DEVELOPMENT OF DIGITAL CITIZENSHIP SKILLS IN LIFE AND THAI SOCIETY COURSE AT HIGH VOCATIONAL CERTIFICATE LEVEL |
Authors: | Varanon klangseeda Woranarakul วรานนท์ คลังสีดา วรนรากุล Atchara Sriphan อัจฉรา ศรีพันธ์ Naresuan University Atchara Sriphan อัจฉรา ศรีพันธ์ atcharas@nu.ac.th atcharas@nu.ac.th |
Keywords: | ทักษะพลเมืองดิจิทัล การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน วิชาชีวิตกับสังคมไทย Digital Citizenship Skills Phenomenal-Based Learning Life and Thai Society |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research is a mixed methods study with the objectives of 1) To study the current state and problems of digital citizen skills. Of students at the Diploma level (High Vocational Certificate) and 2) To develop learning management by using phenomena as a base. To develop digital citizenship skills in the course on Life and Thai Society High Vocational Diploma level (High Vocational Certificate) emphasizing the educational management process through phenomena that are true in society. together with the development of innovative technologies in the virtual world Integrate the real world (AR books) into teaching and use multidimensional learner assessment. (Multidimensional Analysis) The research area is 5 vocational colleges in Phitsanulok Province, with a group of 354 informants randomly drawn according to the formula of Krejcie & Morgan and the sample group is students studying in the subject Life and Thai Society. There were 40 students at the Diploma of Vocational Certificate level, Phitsanulok Technical College. There were 2 types of research tools: 1) student questionnaires, 2) questionnaires for interviewing teachers and students.
The results showed that The students had a higher level of digital citizenship skills at a level of 4.48 (high level) due to the use of a phenomenon based learning process under 5 key dimensions, which is a learning process that brings various phenomena in today's society. through the analytical thinking process of the learners with the use of educational Augmented Reality: AR opens up to students the freedom to think with multidimensional learning. to connect knowledge between each other and promote the competency of learners in the digital age appropriately forming an educational model “Phenomenon Based Learning Management In the course Life and Thai Society for vocational learners to create a body of educational knowledge or PLTC Model" งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านทักษะพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัล ในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เน้นกระบวนการจัดการศึกษาผ่านปรากฏการณ์ที่เป็นจริงในสังคม ร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (หนังสือ AR) ประกอบการสอน และใช้การประเมินผู้เรียนแบบพหุมิติ (Multidimensional Analysis) พื้นที่วิจัย คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก 5 แห่ง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 354 คน ได้มาจากการสุ่มตามสูตรของ Krejcie & Morgan และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ 1) แบบสอบถามผู้เรียน 2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ครูผู้สอนและผู้เรียน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีระดับทักษะพลเมืองดิจิทัลสูงขึ้น อยู่ในระดับ 4.48 (ระดับมาก) เนื่องมาจากการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ภายใต้ 5 มิติสำคัญ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่นำเอาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน มาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ด้วยการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented Reality: AR) เปิดกว้างให้ผู้เรียนมีอิสระวิสัยในการคิดด้วยการเรียนรู้แบบพหุมิติ เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างกัน และส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดโมเดลการศึกษา “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทยสำหรับผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา สู่การสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา หรือ PLTC Model” |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5844 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
VaranonKlangseedaWoranarakul.pdf | 14.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.