Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5842
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Learning Activities to Enhance Thai Musical Instruments’ Playing Ability Based-on Dalcroze Music Teaching Method: A Study of Grade 7 Students. |
Authors: | Chinnawat Oonsun ชินวัตร อ่อนสุ่น Angkana Onthanee อังคณา อ่อนธานี Naresuan University Angkana Onthanee อังคณา อ่อนธานี angkanao@nu.ac.th angkanao@nu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิดของดาลโครซ ความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ The development of learning activities Dalcroze music teaching method Thai musical instruments’ playing ability |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This study aimed 1) to develop and evaluate the learning activities based on Dalcroze's music teaching method for enhancing the creativity of Thai musical instrument playing ability of grade 7 students, 2) to compare the students' creativity of Thai musical instruments playing ability before and after learning with activities based on Dalcroze's music teaching method, and 3) to assess Grade 7 students' satisfaction after learning by using Dalcroze's music teaching method. The 30 random samples were selected by using simple random sampling from 1 class; second semester of the academic year 2021. The research tools were 1) the learning activity based on Dalcroze's music teaching method, 2) the tests of the creativity of Thai musical instrument playing ability, and 3) the students' satisfaction about learning activities based on Dalcroze's music teaching method.
The result showed that 1) the learning activities based on Dalcroze's music teaching method for enhancing the creativity of Thai musical instrument playing ability had 4 steps. First, listen to the song for encouraging the students to focus and connect their brains and nervous systems. Second, respond to sounds with body movements. Third, observe the responses and expressions then correct them. Finally, use musical symbols to present the students' musical experiences. 2) The learning activities based on Dalcroze's music teaching method for enhancing the creativity of Thai musical instruments playing ability of grade 7 students was effective at 77.11/83.89 based on the standardized criteria of 75/75. In addition, the post-test score was higher than the pre-test score with a statistical significance of 0.01. 3) The students' satisfaction with learning activities based on Dalcroze's music teaching method was at the highest level, which an average was 4.94 and a standard deviation was 0.11. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 30 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ 2) แบบวัดความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การฟังเพลงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในบทเพลงและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมองและระบบประสาท ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อเสียงด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย ขั้นที่ 3 การแก้ไขการตอบสนองและการแสดงออกด้วยการสังเกต ขั้นที่ 4 การใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีในการนำเสนอประสบการณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนได้รับ 2) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 77.11/83.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซและการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5842 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChinnawatOonsun.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.