Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5840
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
A DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING REFLECTIVE THINKING WITH BOARD GAME TO ENHANCE WRITING FOR COMMUNICATION ON PUBLIC SPACE FOR ELEVENTH GRADE STUDENTS
Authors: Siramon Wattanabud
สิรามล วัฒนบุตร
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
angkanao@nu.ac.th
angkanao@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิด
บอร์ดเกม
การเขียนเพื่อการสื่อสาร
พื้นที่สาธารณะ
Learning Activities
Reflective Thinking
Board Game
Writing For Communication
Public Space
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this study were 1) to develop learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students at the criterion 75/75 2) to compare writing communication on public space before and after being exposed to learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students, and 3) to assess students' satisfaction after being exposed to the learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students. The study comprised of 3 steps which were 1) development of learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students, 2) comparing compare communication on public space before and after being exposed to learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students, and 3) analyzing students' satisfaction after being exposed to the learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students. The samples were 1 class of 10th-grade students in their second semester in the academic year 2022 at Chalermkwansatree school. All of them were selected randomly using simple random sampling. The research tools were 1) of learning activities by using reflective thinking with board game 2) Pretest and Posttest of writing for communication on public space, and 3) a students’ satisfaction questionnaire on of learning activities by using reflective thinking with board game. Mean, standard deviation, and T-test for dependent samples were used as statistics to analyze the data. The research findings were shown that; 1. Learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students consists of 7 stages: 1) facing problems, 2) explaining the situation, 3) describing feelings towards the situation, 4) supporting with beliefs or principles, 5) finding reasonable conclusion, 6) processing, and 7) learning new experiences. The designed learning activities were with the efficiency value at 75.25/76.63 2. The students’ writing for communication on public space, after attending the learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students, is higher than the pretest at a significant level of .01 3. The students were satisfied with learning activities by using reflective thinking with board game to enhance writing for communication on public space for eleventh grade students at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม โดยดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม ตามเกณฑ์ 75/75 ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จำนวน 1 ห้องเรียน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม 2) แบบวัดความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เผชิญกับสถานการณ์ที่มีปัญหา ขั้นที่ 2 อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ ขั้นที่ 4 บอกแนวคิดหรือหลักการที่สนับสนุนการกระทำ ขั้นที่ 5 ค้นหาข้อสรุปอย่างเป็นเหตุเป็นผล ขั้นที่ 6 ลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 7 การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ซึ่งมีความเหมาะสมของกิจกรรมและแผนการเรียนรู้ระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.25/76.63  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. แบบวัดความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดร่วมกับบอร์ดเกม ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5840
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SiramonWattanabud.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.