Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5824
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
A DEVELOPMENT OF A LEARNING MODEL TO PROMOTE DIGITAL CITIZENSHIP AMONG UNDERGRADUATE STUDENTS TO ACTIVE LEARNING AND SOCIAL MEDIA
Authors: Apatcha Changkwanyeun
อพัชชา ช้างขวัญยืน
Rujroad Kaewurai
รุจโรจน์ แก้วอุไร
Naresuan University
Rujroad Kaewurai
รุจโรจน์ แก้วอุไร
rujroadk@nu.ac.th
rujroadk@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการเรียนรู้
ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
การเรียนเชิงรุก
สื่อสังคมออนไลน์
Learning Styles
Digital Citizenship
Active Learning
Social Media
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were (1) to develop and assess the quality of an instructional model, (2) to implement and study on the effectiveness of the model. (3) to propose an instructional model. The sample consisted of 24 Naresuan University’s students during the third semester of the 2022 academic year. The sample was purposively selected. Learning model to enhance digital citizenship for undergraduate students of an active learning based on social media, Lesson plans, the digital citizenship rating scale, the student self-assessment form, digital citizenship project assessment form, the reflective journal from the students and satisfaction assessment questionnaire, all constituted the research instruments. Data were analyzed using mean, standard deviation, a dependent samples t-test, and content analysis. The results revealed as follows: 1. The developed model consisted of five components, namely principles, objectives, contents, learning process, and evaluation. The factors supporting learning consisted of three components: online social system, principle of reaction, and supporting system. The learning process consisted of six steps, namely: attention, simulation, research, analysis, construction, and reflection. The result of the appropriateness evaluation for learning model was at a high level. 2. The experimental result of using ASRACR Model, indicate 1) the students’ digital citizenship after the instructional model implementation was significantly higher than before at .05 level. 2) the students’ self-assessment of digital citizenship after the instructional model implementation was significantly higher than before at .05 level. 3) the students had digital citizenship project at the highest level. 4) the students’ reflection and cognizance about digital citizenship increased significantly and 5) the students' satisfaction towards the model and implementation process was at the high level. 3. The results of an instructional model certification by experts were found that the overall of the model suitability was guaranteed at the high level in all aspects.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบการเรียนรู้ฯ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี จำนวน 24 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิต    ปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล 4) แบบประเมินตนเองสำหรับผู้เรียน 5) แบบบันทึกการเรียนรู้ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎีของรูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนฯ การเรียนเชิงรุก สื่อสังคมออนไลน์ และความเป็นพลเมืองดิจิทัล ส่วนที่ 2 รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 นำเสนอสถานการณ์ ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ ขั้นที่ 5 สร้างองค์ความรู้ ขั้นที่ 6 สะท้อนคิด และขั้นตอนที่ 3 การสรุป การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย ระบบสังคมออนไลน์ หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนไปใช้ และส่วนที่ 4 ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน ประกอบด้วย ผลทางตรงและผลทางอ้อม และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11, S.D. = 0.14) และเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในรูปแบบการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.11) 2. ผลการศึกษาใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า 1) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินตนเองด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นิสิตมีผลการประเมินผลงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก 4) นิสิตมีการสะท้อนคิดและตระหนักรู้ถึงความเป็นพลเมืองดิจิทัลมากขึ้น และ 5) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลฯ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.37, S.D. = 0.10) 3. ผลการรับรองรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.18, S.D. = 0.17)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5824
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ApatchaChangkwanyeun.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.