Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5823
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Wunwisa Muangthong | en |
dc.contributor | วันวิสา ม่วงทอง | th |
dc.contributor.advisor | Wareerat Kaewurai | en |
dc.contributor.advisor | วารีรัตน์ แก้วอุไร | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-10-31T04:06:56Z | - |
dc.date.available | 2023-10-31T04:06:56Z | - |
dc.date.created | 2566 | en_US |
dc.date.issued | 2566 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5823 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to develop an experiential model based on executive functions to enhance rational thinking ability for preschool children. This research was conducted by using the research and development process, which included four steps as follows: Step 1 was to study guidelines in providing experiences based on executive functions to enhance rational thinking ability for preschool children. Step 2 was to create, determine, and check the quality of the experiential model by seven experts. Moreover, it was to pilot the experiential model with 25 students who were not the research sample group. Step 3 was to try out the experiential model with the research sample group who were 25 students in Kindergarten Grade 2 at Phrae Kindergarten. They were selected by simple random sampling, the random unit is a classroom. Step 4 was to assess the satisfaction with learning through the experiential model based on executive functions for preschool children by assessing the satisfaction in terms of input, process, and product factors. The research findings are as follows. 1. The experiential guideline, the focus was knowledge and understanding of the teachers about EF brain skills in order to provide experiences that could enhance preschool children’s rational thinking ability in terms of language potential, quantitative rational, and spatial relation abilities in that when having the right knowledge, they could apply the knowledge to use correctly. 2. The experiential model consisted of the origin of the experiential model and the elements of the experiential model, including five elements: 1) principles, 2) objectives, 3) Learning content consists of key experiences and content for learning as Follows: natural environment and things around children , 4) experience management process consisting of four steps (i.e., Step 1 arousing interest, Step 2 challenging situations, Step 3 initiating action, and Step 4 reflecting in pairs), and 5) measurement and evaluation. As for the result of the quality check of the experiential model, overall, it was at the highest level. In addition, it was found that the effectiveness index (E.I.) of the experiential model was 0.6034 (60.34%). 3. The experimental results of using the experiential management are as follows. 3.1 The developed experiential model could encourage preschool children to show all aspects of rational thinking abilities. The mean score before experience management (X̄ = 8.80) was at a moderate ability level, and the mean score after the experience management (X̄ = 12.80) was at a high ability level. 3.2 After the preschool children learned through the experiential model based on executive functions had rational thinking ability significantly higher score than before learning at the .01 level in all aspects. 4. The preschool children in this study were satisfied with the learning experience at a high level (X̄ = 2.93, S.D. = 0.10). When considering the issues in each aspect, all aspects showed the satisfaction with learning through experiential model at a high level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทางการจัดประสบการณ์ตามแนวทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และทดลองนำร่องรูปแบบการจัดประสบการณ์ กับนักเรียนกลุ่มทดลองนำร่อง ซึ่งไม่ใช่นักเรียนที่เป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลแพร่ จำนวน 25 คน จากการสุ่ม อย่างง่าย โดยมีหน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดประสบการณ์มีจุดเน้นสำคัญคือ ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนเกี่ยวกับทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ เพื่อจัดประสบการณ์ที่สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิด เชิงเหตุผลทั้งด้านศักยภาพเชิงภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงปริมาณ และด้านความสามารถ เชิงมิติสัมพันธ์ เมื่อมีความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง 2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย ที่มาของรูปแบบการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบของรูปแบบการจัดประสบการณ์ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก 4) กระบวนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ ขั้นที่ 2 สถานการณ์ท้าทาย ขั้นที่ 3 ริเริ่ม ปฏิบัติการ ขั้นที่ 4 สะท้อนคิดเป็นคู่ และ 5) การประเมินผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบการจัดประสบการณ์ มีค่าเท่ากับ 0.6034 คิดเป็นร้อยละ 60.34 3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ พบว่า 3.1 รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลครบทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนจัดประสบการณ์ (X̄ = 8.80) อยู่ในระดับความสามารถปานกลาง และหลังการจัดประสบการณ์ (X̄ = 12.80) อยู่ในระดับความสามารถสูง 3.2 เด็กปฐมวัยที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทักษะการคิด เพื่อชีวิตที่สำเร็จมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน 4. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับมาก (X̄ = 2.93, S.D. = 0.10) และเมื่อพิจารณาประเด็นในแต่ละด้าน ทุกด้านมีระดับความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับมาก | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | รูปแบบการจัดประสบการณ์ | th |
dc.subject | แนวทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ | th |
dc.subject | ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล | th |
dc.subject | Experiential model | en |
dc.subject | Executive functions | en |
dc.subject | Reasoning thinking ability | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Education science | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย | th |
dc.title | THE DEVELOPMENT OF AN EXPERIENTIAL MODEL BASED ON EXECUTIVE FUNCTIONS TO ENHANCE RATIONAL THINKING ABILITY FOR PRESCHOOL CHILDREN | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Wareerat Kaewurai | en |
dc.contributor.coadvisor | วารีรัตน์ แก้วอุไร | th |
dc.contributor.emailadvisor | wareeratk@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | wareeratk@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Doctor of Education (Ed.D.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Education | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาการศึกษา | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WunwisaMuangthong.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.