Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5815
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี
THE DEVELOPMENT OF FLIPPED CLASSROOM LEARNING MODEL WITH SOCIAL MEDIA BASED ON PROBLEM BASED LEARNING TO ENHANCE MEDIA LITERACY OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: Araya Puketkaew
อารยา ปู่เกตุแก้ว
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
Naresuan University
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
kobsookk@nu.ac.th
kobsookk@nu.ac.th
Keywords: ห้องเรียนกลับด้าน
สื่อสังคม
การเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน
การรู้เท่าทันสื่อ
Flipped Classroom
Social Media
Problem Based Learning
Media Literacy
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop the learning model using flipped classroom with social media based on problem-based learning to enhance media literacy of undergraduate students 2) to study the results of using the learning model using flipped classroom with social media based on problem-based learning to enhance media literacy of undergraduate students and 3) to verify the learning model using flipped classroom with social media based on problem-based learning to enhance media literacy of undergraduate students. The sample consisted of 30 students who registered at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phayao campus by purposive sampling technique. The research instruments were 1) the flipped classroom learning model with social media based on problem-based learning to enhance media literacy of undergraduate students 2) Model using manual (knowledge management Plan) 3) the understanding of media literacy test 4) online observation form of media literacy knowledge 5) the assessment of self-learning in media literacy 6) the assessment of output of learning in media literacy 7) the satisfaction form. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The results of research are as follows: 1) The components of the learning model consisted of 7 components which are 1.1) principles 1.2) objective 1.3) contents 1.4) learner/teachers 1.5) learning media 1.6) instructional process and 1.7) measurement and evaluation. 2) The learning process has 6 steps: 2.1) Self-study 2.2) Understanding of Problem 2.3) Searching Data 2.4) Brainstorm) 2.5) Summary and 2.6) Presentation 3) Students had understanding of media literacy after learning were statistically significant higher that post-test at the .01 4) The behavior of understanding of media literacy had performance which was 88.21 percent, passing the criteria of 80 percent. 5) The results of experiments with similar samples showed that the efficiency of the process test (E1) and the efficiency of the outcome test (E2) were 82.80/86.20 and able to encourage increased media literacy from studying with the learning model. 6)The verification of learning model was appropriate at the high level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ สื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับ ปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิต/พระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้ฯ 2) คู่มือการใช้รูปแบบฯ 3) แบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 5) แบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อด้วยตนเอง 6) แบบประเมินผลงานการรู้เท่าทันสื่อ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) หลักการ 1.2) วัตถุประสงค์ 1.3) เนื้อหา 1.4) บทบาทผู้เรียน/ผู้สอน 1.5) สื่อการเรียนรู้ 1.6) กระบวนการจัดการเรียนการสอน  และ  1.7) การวัดและประเมินผล 2) ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ มี 6 ขั้น ได้แก่ 2.1) ขั้นศึกษาปัญหา 2.2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 2.3) ขั้นศึกษาค้นคว้า 2.4) ขั้นสังเคราะห์ปัญหา 2.5) ขั้นสรุปการเรียนรู้ 2.6) ขั้นนำเสนอผลงาน 3) ผู้เรียนมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อจากการใช้สื่อสังคม มีระดับการปฏิบัติในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 88.21 ผ่านเกณฑ์ตามที่ตั้งไว้ 5) นำรูปแบบการเรียนรู้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และทดสอบประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 80.58/83.50 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 6) ผลการรับรองรูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรีจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมาก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5815
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ArayaPuketkaew.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.