Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5794
Title: | ปัจจัยกำหนดการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุระดับภูมิภาคในประเทศไทย The determinant of access to health services of elderly in regional level of Thailand |
Authors: | Sila Tonboot ศิลา โทนบุตร Bhagaporn Wattanadumrong ภคพร วัฒนดำรงค์ Naresuan University Bhagaporn Wattanadumrong ภคพร วัฒนดำรงค์ Bhagaporn@nu.ac.th Bhagaporn@nu.ac.th |
Keywords: | บริการสุขภาพปฐมภูมิ ผู้สูงอายุ การเข้าถึงบริการ ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ Primary Healthcare Elderly Health utilization Social Determinant of Health |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The research delves into the access to primary health care services among the elderly population in Thailand. The objective is to examine the prevailing circumstances regarding health service accessibility, identify the factors influencing access to health services, and investigate strategies to improve access using an Explanatory Design Mixed-Method Analysis. This quantitative analysis is compartmentalized into three tiers: economic factors, infrastructure-related factors, and personal factors. The economic factors affecting health service access for the elderly include employment rates, the Gross Provincial Product in the Health and Social Activities section, and the Consumer Price Index. Infrastructure factors include the budget of the Tambon Health Fund, travel distance, the budget of the Long-term Elderly Care Fund, the number of available doctors, and hospital service plans. At a personal level, factors such as geographical location, age, Universal Coverage Scheme, the number of chronic diseases, and median household income affect the use of primary health care services. Further, the utilization of preventive promotion services in the primary health system among the elderly without illness is influenced by factors such as gender, level of education, Social Security rights, the number of chronic diseases, and average household income. Poisson Regression modeling revealed that municipal areas, the number of chronic diseases, and average household income of the elderly impact individual outpatient visits. Meanwhile, factors such as gender, education level, health care rights, other insurance coverages, and the presence of chronic diseases significantly affect the cost of receiving primary health care services, as illustrated by multiple regression equations. The qualitative analysis highlighted five key areas: the impact of chronic diseases on service use; the influence of the Tambon Health Fund on the utilization of primary care services; the role of sub-district health-promoting hospitals in providing access to services over long distances; the challenges faced by elderly individuals living in impoverished families; and the involvement and distribution of doctors in accessing services. In conclusion, the study recommends generating more granular, area-level estimates, particularly concerning travel, and assessing whether primary care services can effectively alleviate hospital congestion. The unique context of Bangkok warrants a more exhaustive and detailed examination in the future, as concurred by many experts. การศึกษาการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้สูงอายุในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาสถานการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยใช้วิธีการ Mixed-Method Analysis แบบ Explanatory Design การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ โดยแยกเป็นการวิเคราะห์ในแบบจำลองที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระดับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ระดับปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน และระดับตัวบุคคล ผลของการศึกษาพบว่า แบบจำลองปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุคือ ตัวแปรจำนวนผู้มีงานทำ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในหมวดสุขภาพและกิจกรรมทางสังคม ตัวแปรดัชนีราคาผู้บริโภค สำหรับแบบจำลอง ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้สูงอายุ คือ ตัวแปรจำนวนงบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล ระยะทาง งบประมาณกองทุนระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จำนวนแพทย์เพิ่ม และตัวแปรแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการใช้บริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้สูงอายุ ตัวแปรพื้นที่นอกเขตเทศบาล ตัวแปรอายุ หลักประกันสุขภาพบัตรทอง (UCS) จำนวนโรคเรื้อรัง แบบจำลองการตัดสินใจเข้ารับบริการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพของผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีอาการป่วย ตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้บริการส่งเสริมป้องกันของระบบสุขภาพปฐมภูมิของผู้สูงอายุที่มีอาการป่วย ได้แก่ ตัวแปรเพศ ระดับการศึกษาผู้ที่ไม่จบประถมศึกษา สิทธิประกันสังคม จำนวนโรคเรื้อรัง รายได้เฉลี่ยครัวเรือน และแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกรายบุคคล โดยใช้ Poisson Regression พบว่า พื้นที่เขตเทศบาล จำนวนโรคเรื้อรัง รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรับบริการสุขภาพปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรเพศ การศึกษาที่สูงขึ้นมีค่าใช้จ่ายสุขภาพปฐมภูมิมากขึ้น ตัวแปรสิทธิรักษาพยาบาลอื่น จ่ายเยอะกว่าสิทธิ 3 หลักประกัน ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังมีแนวโน้มที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ โรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้บริการ โดยแนวทางเวชปฏิบัติของการรักษาโรคทำให้การใช้บริการเกิดขึ้นบ่อยอยู่แล้วในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง งบประมาณที่สนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมินั้นส่งเสริมการใช้บริการส่งเสริมสุขภาพปฐมภูมิหรือไม่นั้น พบว่า เงินจากกองทุนสุขภาพตำบลมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า อาจจะมีส่วนส่งเสริมให้การใช้บริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น มากกว่างบประมาณกองทุนระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ขณะที่ประเด็นระยะทางและการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ เป็นผลจากบทบาทของ รพ.สต. มีผลต่อการเข้าถึงบริการที่มีระยะทางห่างไกล ซึ่งถ้าหากว่าโรงพยาบาลอยู่ห่างจากพื้นที่ชุมชนมากทำให้การใช้บริการที่ รพ.สต. มีบทบาทมาก ประเด็นผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวยากจนนั้น มาจากโครงสร้างของปัญหานั้นแตกต่างกันออกไปตามบริบทแต่ละพื้นที่ซึ่งอาจจะมองไม่เห็นในภาพรวมระดับประเทศ ประเด็นจำนวนแพทย์มีส่วนในการเข้าถึงบริการ โดยความเพียงพอของแพทย์เป็นที่น่าพอใจ แต่การกระจายของแพทย์นั้นไม่ได้ตอบโจทย์ ข้อเสนอแนะควรมีการประมาณการระดับพื้นที่ที่ละเอียดมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีเรื่องการวิเคราะห์ว่า บริการปฐมภูมิสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลได้จริงหรือไม่ และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเห็นว่า กทม. เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษควรจะมีการศึกษาในเชิงลึกต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5794 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SilaTonboot.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.