Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5790
Title: การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสู่ประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา : การใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก
THE STUDY ON SUSTAINABLE TOURISM THE USE OF INFORMATIOM TECHNOLOGY FOR THAILAND 4.0 : A CASE STUDY OF USING AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY FOR SGT. MAJ. THAWEE FOLK MUSEUM PHITSANULOK PROVINCE
Authors: Jidapa Tammarakkul
จิดาภา ธรรมรักษ์กุล
Anirut Asawasakulsorn
อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร
Naresuan University
Anirut Asawasakulsorn
อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร
aniruta@nu.ac.th
aniruta@nu.ac.th
Keywords: เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเทศไทย 4.0
การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี
Information Technology (IT)
Thailand 4.0
Sustainable Tourism
Augmented Reality Technology (AR)
Folk Museum
SGT.MAJ.Thawee Folk Museum
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Augmented reality technology is a technology that combines the real world and the augmented reality together. processed from computer allowing us to respond to those simulations This will have the potential to present content that is more advantageous than traditional media and can be applied to various learning to be exciting and new. The objective of this research is study the guidelines for the development of tourism by using information technology for museums and Study of using Augmented Reality Technology for Sgt.Maj.Thawee Folk Museum Phitsanulok Province. This study used quality method. The samples used in this study are Museum Specialist, Travel Specialist,  Museum Management  and Tourist. Which from the research results showed that Augmented Reality (AR) are attract tourists, create interest and to encourage learning. Especially the application in the presentation and display of objects in the museum. By displaying them in three dimensions as a tool that can create learning to be easy to understand. It is a trip without actually traveling. But it's a "virtual" journey. And promote public relations to stimulate museum tourism. This can lead to further learning of the local wisdom of the Sergeant Thawee Folk Museum at a deeper level.
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน เป็นเทคโนโลยีผสมโลกของความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งจำลองเหล่านั้นได้ซึ่งจะมีศักยภาพในการนำเสนอเนื้อหาที่ได้เปรียบกว่าการใช้สื่อแบบเดิมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ต่างๆ ให้น่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษา แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสู่ประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา : การใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพิพิธภัณฑ์และเพื่อศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้เลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งหมด 10 คน คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีความจริงเสริมมาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านการนำเสนอและการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงในรูปแบบสามมิติเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้สามารถเข้าใจง่าย เพิ่มช่องทางในการให้ข้อมูล เป็นการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางจริง แต่เป็นการเดินทางแบบ “ เสมือนจริง ” และเป็นสื่ออีกหนึ่งช่องทางที่ใช้เพื่อจูงใจส่งเสริมประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีต่อไป ในระดับที่ลึกลงไปได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5790
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JidapaTammarakkul.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.