Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5779
Title: สมรรถนะที่พึงประสงค์ของพยาบาลวิชาชีพในยุคชีวิตวิถีใหม่  หน่วยบริการสาธารณสุข  สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  เขตสุขภาพที่ 2
Desirable Competencies of Professional Nurses in the New Normal,Health Unit under the Ministry of Public Health, Area Health 2
Authors: Sirintip Fakfai
ศิรินทิพย์ ฝักฝ่าย
Jirarat Ruetrakul
จิรรัตน์ หรือตระกูล
Naresuan University
Jirarat Ruetrakul
จิรรัตน์ หรือตระกูล
jiraratr@nu.ac.th
jiraratr@nu.ac.th
Keywords: สมรรถนะที่พึงประสงค์
ยุคชีวิตวิถีใหม่
หน่วยบริการสาธารณสุข
พยาบาลวิชาชีพ
Desirable Competencies
New Normal
Health Unit
Professional nurse
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to study desirable competencies of professional nurses in the new normal, health unit under the Ministry of Public Health, Area Health 2, and to compare desirable competencies in the new normal of professional nurses working in primary, secondary, and tertiary health units. The research was conducted among a sample of 420 professional nurses who had been employed in the health units under the Ministry of Public Health, Area Health 2, for over a year. The participants were selected using a multi-stage random sampling method. The research instrument was the Desirable Competencies Questionnaire for Professional Nurses in the New Normal, which was examined for its content verified by three experts with a questionnaire reliability of 0.98. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and multiple comparison by LSD method.                The research results showed that the desirable competencies of professional nurses in the new normal, health unit under the Ministry of Public Health, Area Health 2 consisted of 11 competencies, most of them were at the highest level, including morality and ethics, law, nursing and midwifery practices, professional attributes, leadership, management and quality development, communication, relationship, technology and information, as well as society. The only competency that presented at a high level was academic and research. There were top three competencies with the highest average such as, morality and ethics (x̄=4.75, S.D.=0.41), relationship (x̄=4.55, S.D.=0.51), and professional attributes (x̄=4.53, S.D.=0.50). The lowest average competency was academic and research (x̄=4.14, S.D.=0.69). When comparing the desirable competencies in the new normal across primary, secondary, and tertiary health units, the overall findings revealed a statistically significant difference at the .05 level. The competency that was management and quality development, academic and research, communication, relationship, technology and information, as well as society. However, no significant difference was observed between secondary and tertiary health units.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของพยาบาลวิชาชีพในยุคชีวิตวิถีใหม่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุข  สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  เขตสุขภาพที่ 2  และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่พึงประสงค์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  และตติยภูมิ  โดยศึกษากับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุขซึ่งมีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป   สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  เขตสุขภาพที่ 2  จำนวน 420 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถามสมรรถนะที่พึงประสงค์ของพยาบาลวิชาชีพในยุคชีวิตวิถีใหม่  ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน  มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) และเปรียบเทียบเชิงพหุคูณเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (least significant difference) ผลการวิจัย  พบว่า  สมรรถนะที่พึงประสงค์ของพยาบาลวิชาชีพยุคชีวิตวิถีใหม่  หน่วยบริการสาธารณสุข  สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  เขตสุขภาพที่ 2  ประกอบด้วย 11 สมรรถนะ  ซึ่งสมรรถนะส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด  ได้แก่  ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ด้านกฎหมาย  ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์  ด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ  ด้านภาวะผู้นำ  ด้านการจัดการและการพัฒนาคุณภาพ   ด้านการสื่อสาร  ด้านสัมพันธภาพ  ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  และด้านสังคม  ส่วนสมรรถนะที่อยู่ในระดับมากมีเพียง 1 ด้าน  คือ  ด้านวิชาการและการวิจัย  โดยสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก  ได้แก่  ด้านคุณธรรมจริยธรรม (x̄=4.75, S.D.=0.41)  ด้านสัมพันธภาพ (x̄=4.55, S.D.=0.51) และด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ (x̄=4.53, S.D.=0.50) ส่วนสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านวิชาการและการวิจัย (x̄=4.14, S.D.=0.69)  และเมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่พึงประสงค์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ และตติยภูมิในภาพรวมพบว่าหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิกับทุติยภูมิ  และหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิกับตติยภูมิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ในด้านการจัดการและการพัฒนาคุณภาพ  ด้านวิชาการและการวิจัย  ด้านการสื่อสาร  ด้านสัมพันธภาพ  ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  และด้านสังคม  และไม่พบความแตกต่างระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขระดับทุติยภูมิกับตติยภูมิ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5779
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SirintipFakfai.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.