Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5759
Title: การสร้างสภาพแวดล้อมจริงเสมือนเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ
Creating a Virtual Reality Environment for Tsunami Disaster Preparedness
Authors: Chawalit Doungu-tha
ชวลิต ดวงอุทา
Tatiya Theppituck
ตติยา เทพพิทักษ์
Naresuan University
Tatiya Theppituck
ตติยา เทพพิทักษ์
tatiyath@nu.ac.th
tatiyath@nu.ac.th
Keywords: สภาพแวดล้อมจริงเสมือน
ภัยพิบัติสึนามิ
การเรียนรู้ของมนุษย์
Virtual realily
Tsunami disaster
Learning style
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is to study and analyze the interaction between humans and tsunami disaster models to create a virtual environment for tsunami preparedness. Under the framework of the theory of learning style through the three paths of perception: Visual Perception, Auditory Perception, and Kinesthetic Perception with a connection between humans and basic devices to create a virtual reality. Has an interesting story and easy to communicate Regardless of the virtual environment used for any type of work. The sample consisted of Virtual reality (VR) environment specialists (design, development, and computer graphics) and academics with knowledge of the tsunami disaster. Sample group before actual use and a group of virtual reality (VR) testers. The research tools consisted of questionnaires, expert interview forms, virtual reality (VR) environments developed from preliminary data synthesis. Creating a Virtual Reality for Tsunami Disaster Preparedness The researcher designed and built a virtual reality using design guidelines, defining action stories and relationships. In order to provide a connection of information, participants are well equipped with knowledge and understanding of the situation. able to access information and communicate easily through virtual images created according to elements in the virtual environment, consisting of visual characteristics (Image), narrative style (Narrative Mode), people, things, scenes (Virtual reality graphical elements), general characteristics (Simulate environment, roles and rules (Roles and Rules) Players understand their roles and can play roles appropriate to that virtual environment. Get players involved and aware of the magnitude of the problem. Including being a learning process and can be applied in the real world. the aforementioned elements It can help designers of virtual reality environments design appropriately. to achieve the most realistic virtual reality and blend in perfectly with the digital world in this virtual environment. The results of the evaluation of the achievement of the virtual environment awareness for disaster preparedness and tsunami prototypes were generally at a good level. with an average of 3.83. additional suggestions bring virtual reality for tsunami preparedness. This creation is part of the learning museum. If there is further design development It is used in training in different narrative scenarios. will be able to create benefits in various fields can get more variety in the future.
การทำวิจัยนี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแบบจำลองภัยพิบัติสึนามิสู่การสร้างสภาพแวดล้อมจริงเสมือนเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ (learning Style) ผ่านเส้นทางการรับรู้ทั้ง 3 ทาง ได้แก่ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual Perception) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory Perception) และการรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic Perception) โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์พื้นฐานการสร้างสภาพแวดล้อมจริงเสมือน มีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ และสื่อสารเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจริงเสมือนนั้นจะใช้กับงานในลักษณะใดก็ตาม โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) (ออกแบบ พัฒนา และคอมพิวเตอร์กราฟิก) และนักวิชาการที่มีความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ กลุ่มตัวอย่างก่อนการใช้งานจริง และกลุ่มผู้ทดสอบสภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม, แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, สภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) ที่พัฒนาจากการสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การสร้างสภาพแวดล้อมจริงเสมือนเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างสภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) โดยใช้แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) กำหนดเรื่องราวการกระทำและความสัมพันธ์ เพื่อให้มีการเชื่อมโยงของข้อมูลผู้มีส่วนร่วมจะได้รับความรู้และความเข้าใจในสถานการณ์ได้ดี สามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อสารเข้าใจง่ายผ่านภาพเสมือนจริงที่สร้างขึ้นตามองค์ประกอบในสภาพแวดล้อมจริงเสมือน ประกอบด้วย ลักษณะภาพ (Image),รูปแบบการเล่าเรื่อง (Narrative Mode), คน สิ่งของ ฉาก (Virtual reality graphical elements),ลักษณะทั่วไป (Simulate environment), บทบาทและกติกา (Roles and Rules) ผู้เล่นเข้าใจบทบาทของตนเองและสามารถสวมบทบาทให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจริงเสมือนนั้น ทำให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา รวมไปถึงเป็นกระบวนการการเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริงได้ องค์ประกอบที่กล่าวมา สามารถช่วยให้นักออกแบบสภาพแวดล้อมจริงเสมือนออกแบบได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความจริงเสมือนสมจริงมากที่สุด และกลมกลืนกับโลกดิจิตอลในสภาพแวดล้อมจริงเสมือนนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การรับรู้สภาพแวดล้อมจริงเสมือนเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติสึนามิต้นแบบ โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 3.83 ได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม นำสภาพแวดล้อมจริงเสมือน (VR) สำหรับเตรียมพร้อมรับมือภัยสึนามิ ที่สร้างขึ้นมานี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ หากมีการพัฒนาออกแบบเพิ่มเติม มีการใช้งานในการฝึกอบรมในสถานการณ์ต่างๆที่มีการเล่าเรื่องแตกต่างกันออกไป จะสามารถสร้างประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกหลากหลายในอนาคตต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5759
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChawalitDoungu-tha.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.