Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5740
Title: การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับการจำลองสถานการณ์ประสิทธิภาพบ่อฝังกลบขยะเทศบาลเมืองอุทัยธานีโดยการบำบัดขยะด้วยกรรมวิธีเชิงกล-ชีวภาพ
CARBON FOOTPRINT ASSESSMENT FOR SIMULATION OF UTHAI THANI MUNICIPALITY LANDFILL EFFICIENCY BY MECHANICAL-BIOLOGICAL TREATMENT (MBT)
Authors: Paisit Chomchiangkham
ไพสิฐ ชมเชียงคำ
Dondej Tungtakanpoung
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์
Naresuan University
Dondej Tungtakanpoung
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์
dondejt@nu.ac.th
dondejt@nu.ac.th
Keywords: คาร์บอนฟุตพริ้นท์
การจัดการขยะมูลฝอย
แบบจำลอง
MBT
ขยะมูลฝอย
Carbon footprint
Waste Management
Simulation
Solid waste
Uthai Thani Province
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research studies the carbon footprint assessment for simulation of Uthai thani municipality landfill efficiency by mechanical-biological treatment (MBT), Uthai Thani Province. The results show that the solid waste generation of the municipality is 16.70 tons/day and the administration of local government organizations of waste from landfill is 27.64 tons/day. Therefore, it is said that 44.34 tons/day of total waste is in the landfill. It found that a total carbon footprint at Uthai Thani municipality’s solid waste management is 2.47 TonCO2-eq/t MSW. It can be divided into 2 parts, landfill and transportation activities with a total carbon footprint of 2.41 TonCO2-eq/t MSW and 0.06 TonCO2-eq/ t MSW, respectively. Moreover, it can be estimated that the landfill of Uthai Thani municipality has the rest area for receiving 47,749.77 tons of the solid waste. Therefore, it seems that the landfills have the rest time therefore only last 3 more years. The simulation of solid waste management using Mechanical Biological Treatment (MBT) by Passively aerated windrows method was collected and analyzed which presented into 3 cases. Case 1, after MBT and transferring to landfill, the rest time can be extended to be can be used for another 3.77 years and has a carbon footprint is 1.47 TonCO2-eq/t MSW, case 2, after MBT and, sieving and reusing the small and medium-sized waste in the process the rest time can be extended to be 4.77 years and has a carbon footprint is 1.1 TonCO2-eq/t MSW and case 3 was after MBT, sieving and reusing and size note the rest time can be extended to be 37.74 years and have a carbon footprint is 0.54 TonCO2-eq/t MSW. It has been suggested that, the planning and design of the solid waste management of Uthai Thani Municipality or the other should consider MBT process before disposal in order to reduction and extending landfill lifetime for operation of the landfill.
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับการจำลองสถานการณ์ประสิทธิภาพบ่อฝังกลบขยะเทศบาลเมืองอุทัยธานีโดยการบำบัดขยะด้วยกรรมวิธีเชิงกล-ชีวภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบ่อฝังกลบของเทศบาลเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ผลการศึกษาพบว่าเทศบาลเมืองอุทัยธานี ในปี 2561 มีปริมาณขยะเข้าสู่บ่อฝังกลบขยะทั้งหมดเฉลี่ย 44.34 ตัน/วัน โดยพบว่ามีปริมาณ 16.70 ตัน/วัน มาจากเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี และปริมาณขยะ 27.64 ตัน/วัน มาจาก อปท. อื่น ๆ และพบว่าในการจัดการขยะของเทศบาลเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากขยะ 1 ตัน เท่ากับ 2.47 TCO2eq/ตันขยะ โดยแบ่งออกเป็นการปล่อยปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้งท์ที่มาจากการฝังกลบขยะ 2.41 TCO2eq/ตันขยะ และจากการขนส่งขยะ 0.06 TCO2eq/ตันขยะ จากการประเมินสภาพปัจจุบันพบว่าบ่อฝังกลบของเทศบาลเมืองอุทัยธานีสามารถรองรับปริมาณขยะได้อีกประมาณ 47,000 ตัน ถ้าเทศบาลเมืองอุทัยธานีไม่มีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะส่งผลให้บ่อฝังกลบขยะใช้งานได้อีกแค่ 3 ปีเท่านั้น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำแบบจำลองการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีการบำบัดขยะด้วยกรรมวิธีเชิงกล-ชีวภาพ แบบ Passive aerated windrow ซึ่งได้แบ่งกรณีศึกษาเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ขยะหลังจากถูกบำบัดแล้ว นำขยะทั้งหมดกำจัดลงที่บ่อฝังกลบ ส่งผลให้บ่อฝังกลบสามารถใช้ได้อีก 3.77 ปี และมีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ย 1.47 TCO2eq/ตันขยะ กรณีที่ 2 ขยะหลังจากถูกบำบัดแล้ว นำขยะมาร่อนเพื่อคัดแยกขยะขนาดเล็กและขนาดกลางไปใช้ประโยชน์ และส่วนที่เหลือกำจัดลงบ่อฝังกลบ ส่งผลให้บ่อฝังกลบสามารถใช้ได้อีก 4.77 ปี และมีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ย 1.1 TCO2eq/ตันขยะ และกรณีที่ 3 ขยะหลังจากถูกบำบัดแล้ว นำขยะมาร่อนเพื่อคัดแยกขยะขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ไปใช้ประโยชน์ และบางส่วนที่เหลือกำจัดลงบ่อฝังกลบ ส่งผลให้บ่อฝังกลบสามารถใช้ได้อีก 37.74 ปี และมีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ย 0.54 TCO2eq/ตันขยะ ดังนั้นการออกแบบวางแผนการจัดการขยะของเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานีหรือสถานที่อื่น ๆ ควรคำนึงถึงระบบบำบัดขยะด้วยกรรมวิธีเชิงกล-ชีวภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะและยืดอายุเวลาของบ่อฝังกลบให้กับองค์กรในอนาคตต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5740
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PaisitChomchiangkham.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.