Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5733
Title: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาอาชีวศึกษา เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง The Problem-based Learning Management for Computational Thinking Skill Development of Vocational Students in Rectilinear Motion |
Authors: | Rungthipporn Saneaha รุ่งทิพย์พร เสน่หา Sirinapa Kijkuakul สิรินภา กิจเกื้อกูล Naresuan University Sirinapa Kijkuakul สิรินภา กิจเกื้อกูล sirinapaki@nu.ac.th sirinapaki@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน การคิดเชิงคำนวณ นักศึกษาอาชีวศึกษา Problem-based Learning computational thinking Vocational Student |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The research aimed to study using a problem-based learning approach to develop the computational thinking skills of students in rectilinear motion and study changes in their skills. The participants derived from purposive sampling were 40 high vocational certificate students studying at a vocational institution in Loei Province. The research design was three cycles of classroom action research, and instruments included three lesson plans, a reflective form, a computational thinking test, and learning notes. The data were analyzed through content analysis and triangulation. The results indicated that the problem-based learning approach needs to focus on using a situation familiar with students’ real lives and reviewing their prior knowledge and calculation skills. These enable them to identify the situation as a big problem, break it into sub-problems, and then search for information and arrange that into steps of its solutions. Moreover, an instructor should allow students to discuss the solution process, exchange knowledge, and make suggestions with others. In addition, the findings of changes in computational thinking skills revealed that the students’ computational thinking skills had increased. They wrote an explanation of the solution and presented it also, the mostly components of computational thinking skills improved were pattern recognition, decomposition abstraction, and algorithm. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง และ 2)ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักศึกษาอาชีวศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.1) สถาบันอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดเลย จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4) ใบกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดสถานการณ์ที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง พร้อมทั้งปูพื้นฐานวิธีการคำนวณอย่างง่าย เพื่อให้แบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย และนำข้อมูลมาเขียนสรุปจัดเรียงเป็นขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาได้ ครูควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันอภิปรายถึงขั้นตอน การวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน 2)การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการคิดเชิงคำนวน พบว่า นักศึกษามีทักษะการคิดเชิงคำนวณเพิ่มขึ้น สามารถเขียนอธิบาย นำเสนอ อภิปรายขั้นตอนการแก้ปัญหาได้ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่นักศึกษามีทักษะการคิดเชิงคำนวณมากที่สุดคือ การพิจารณารูปแบบของปัญหาได้ดีสุด รองลงมาคือการแยกส่วนประกอบ การพิจารณาสาระสำคัญของปัญหา และการการออกแบบอัลกอริทึม |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5733 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RungthippornSaneaha.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.