Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5727
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
A Development of Content and Language Integrated Learning-based Learning Activity to Enhance Japanese Speaking Skill and Understanding of Japanese Culture for 8th-Grade Students
Authors: Sorawit Jeenanurak
สรวิศ จีนานุรักษ์
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
angkanao@nu.ac.th
angkanao@nu.ac.th
Keywords: วิทยภาษาบูรณาการ
ทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่น
ความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น
Content and Language Integrated Learning
Japanese Speaking Skill
Understanding of Japanese Culture
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to construct and assess the efficiency of the content and language integrated learning-based learning activity to enhance Japanese speaking skill and understanding of Japanese culture for 8th-grade students with the efficiency of 80/80 and 2) to study the outcomes of using the content and language integrated learning-based learning activity to enhance Japanese speaking skill and understanding of Japanese culture for 8th-grade students. The research procedure was comprised of two steps of research and development as follows:  Step 1: The content and language integrated learning-based learning activity was constructed and its efficiency was assessed. The learning activity and lesson plans were assessed by five experts and then used with three 8th-grade students of Chalermkwansatree School to assess the appropriateness of content, language, and time under the Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok Uttaradit, in the second semester of the academic year 2565. After revision, the learning activity was used with nine students to assess the efficiency of 80/80. The data was analyzed with mean, standard deviation, and the efficiency was assessed with E1/E2 formula. Step 2: The content and language integrated learning-based learning activity was tried out on 18 8th-grade students of Chalermkwansatree School under the Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok Uttaradit, in the second semester of the academic year 2565. One Group Pretest-Posttest Design plan was used. The tools utilized were 1) the content and language integrated learning-based learning activity 2) Japanese speaking skill test 3) Understanding of Japanese culture test and 4) Observation note for the learning activity. The data was analyzed with mean, standard deviation, and students’ scores were compared with t-test dependent formula. The results of the study were as follows: The content and language integrated learning-based learning activity was comprised of four steps: 1) Processing the text 2) Identification and organization of knowledge 3) Language Identification and 4) Tasks for students. The appropriateness of the learning activity was assessed as highest (mean = 4.78, SD = 0.42) The efficiency was assessed as 82.46/81.17 conforming to the estimated efficiency of 80/80. Results of the content and language integrated learning-based learning activity 1) Japanese speaking skill in the posttest was higher than that of the pretest with statistical significance at .01 level. 2) Understanding of Japanese culture in the posttest was higher than that of the pretest with statistical significance at .01 level. 3) Students improved their speaking skill and understanding of Japanese culture throughout the content and language integrated learning-based learning activity while learning with their peers and interacting with the instructor. They improved their Japanese speaking skill by studying Japanese culture in Japanese, conversing in Japanese on topics related to Japanese culture, and consequently established a deep  connection between understanding of Japanese culture and Japanese speaking skill. 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (research and development) มี 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้  ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหา, ภาษา, และเวลา จากนั้นทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และหาค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ2) แบบทดสอบทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่น 3) แบบทดสอบความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น และ 4) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และเปรียบเทียบคะแนนนักเรียนด้วยสถิติ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ตัวบท 2) การจัดองค์ความรู้ 3) การสื่อสารภาษา และ 4) ภาระงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.78, SD = 0.42) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.46/81.17 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลการใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ 1) ทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการด้วยการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์กับครู นักเรียนพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยภาษาญี่ปุ่น และสร้างบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นในหัวข้อที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมญี่ปุ่นจนเกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5727
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SorawitJeenanurak.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.