Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5719
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 A Development of Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students. |
Authors: | Krongthip Buapa กรองทิพย์ บัวภา Wareerat Kaewurai วารีรัตน์ แก้วอุไร Naresuan University Wareerat Kaewurai วารีรัตน์ แก้วอุไร wareeratk@nu.ac.th wareeratk@nu.ac.th |
Keywords: | กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality Concept of Science |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpure of this study were to (1) Constract and evaluate the efficiency of Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students based on the criteria 80/80 (2) to imply and study effect of Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students by (2.1) study concept of science for Mattayomsuksa 3 Students (2.2) comparing concept of science before and after using Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students. Research methodology operate with research and development in 2 step ; step 1 creative and studying Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students based on the criteria 80/80. step 2 Implementing and studying the effect of Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality. A sample group consisted of 22 Students in grade 9 , Semester 1 acedemic year 2023 , Ban Pa Bong School , Phetchabun. The research methodology was One-Group Pretest - Posttest Design. The descriptive statistics used on data analysis was t-test dependent. Research finding were as follow:1) Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students consists of steps 1 Engagement with Augmented Reality steps 2 Exploration with Augmented Reality steps 3 Explanation with Augmented Reality steps 4 Elaboration and steps 5 Evaluation The result found that learning activities were suitable in various elements of learningactivity in the highest level. Learning activities were as effective as 82.69/80.00 which met the criteria. 2)The effect of implement found that 2.1 Students who studies by Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality have development in Concept of Science higher in Complete Understanding = 79.09% Partial Understanding = 16.59 % Partial Understanding with Specific misconception = 0.46 % และ No Understanding = 3.86% 2.2 Students who studies by Inquiry Based Learning activity together with Augmented Reality to enhance Concept of Science for Mattayomsuksa 3 Students had Concept of Science higher than before at the significant level of .05 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวัฏจักรของสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อใช้และศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรของสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.1) ศึกษามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรของสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ระเบียบวิธีวิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 2) การใช้และศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะเบาะ จำนวน 22 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 แบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวัฏจักรของสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 สร้างความสนใจด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ขั้นตอนที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุปด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ขั้นตอนที่ 4 ขั้นขยายความรู้ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.69/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวัฏจักรของสาร มีการพัฒนามโนทัศน์เพิ่มสูงขึ้นมโนทัศน์ที่สมบูรณ์ CU คิดเป็นร้อยละ 79.09 มโนทัศน์ไม่สมบูรณ์ PU คิดเป็นร้อยละ16.59 มโนทัศน์คลาดเคลื่อน PS คิดเป็นร้อยละ 0.46 และไม่มีมโนทัศน์ NU คิดเป็นร้อยละ 3.86 2. 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรของสาร มีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.91 และ 15.91 คะแนนตามลำดับและมีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5719 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KrongthipBuapa.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.