Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5698
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nattapon Nukulkam | en |
dc.contributor | ณัฐพล นุกูลคาม | th |
dc.contributor.advisor | Tatiya Theppituck | en |
dc.contributor.advisor | ตติยา เทพพิทักษ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-08-15T07:25:21Z | - |
dc.date.available | 2023-08-15T07:25:21Z | - |
dc.date.created | 2565 | en_US |
dc.date.issued | 2565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5698 | - |
dc.description.abstract | A thesis entitled “The Creation of Photographic Content for Tourism Promotion: a Case Study of Photographs on Social Network” aims to 1) analyse creative elements of travel photography on social network and to 2) create guidelines for creating photographic content to promote tourism through social media. The research was conducted using qualitative and quantitative methods such as document research, statical data analysis, and descriptive analysis to study the content that influencers on social media use in their tourism promotional photos by applying concepts and theories consist of travel motivation, photography and tourism, visual analysis, narrative in photography, and semiotic analysis to analyse tourism promotional photos that were published on social network by a sample group of tourism influencers and to create guidelines for managing and creating photographic content to promote tourism through social media. The research results are concluded as follows. 1) From the analysis of travel photography elements based on travel motivation theories and tastes of travel photography, the elements can be summarized as a List of Travel Photography Content that is segmented into Escaping which is related to leisure activities and quality of accommodation and service, Seeking and Exploration which is related to food and exotic things, cultural elements, natural elements, and adventurous activities, Intrapersonal which may related to whether to use tourist personality in storytelling or not, and Interpersonal which is related to the relationship between tourists and tourists and local people. 2) For the creation of guidelines for creating content for tourism promotion photography on social network, photos from a sample group of tourism influencers were analyzed using both qualitative and quantitative methods as well as the List of Travel Photography Content. The analysis can be summarized as a Guideline for Managing the Content of Travel Photography which categorises travel photography content according to priorities, consisting of: Nature and Leisure Content which is related to natural areas and accommodation and services in tourist attractions, Activities and Learning Content which is related to cultural areas and leisure activities, and Content Based on Storytelling Characteristics which are specific to tourism destination and type of tourist such as exoticism and food, content related to family, friends, or lovers, local people, and exciting or adventurous activities. Each content is mostly presented by using and not using the tourists in the photos alternatively in the mentioned order. In addition to the creation of travel promotional content based on photos by tourism influencers on social network, the findings can also be used to interpret the priorities of travel incentives and needs that are studied from the tourism promotional photographs which may be useful in both further studies and the planning for creating tourism promotional media. | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างเนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ภาพถ่ายบนสื่อสังคม” มีวัตถุประสงค์คือ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการสร้างสรรค์ภาพถ่ายท่องเที่ยวบนสื่อสังคม และ 2) สร้างแนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคม การดำเนินงานวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เช่น การค้นคว้าเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อศึกษาเนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์บนสื่อสังคมออนไลน์ใช้ในภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีประกอบด้วยแรงจูงใจที่ทำให้ท่องเที่ยว การถ่ายภาพและการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ภาพ การเล่าเรื่องราวในภาพถ่าย และการวิเคราะห์สัญญะ.ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เผยแพร่บนสื่อสังคมโดนอินฟลูเอนเซอร์ด้านการท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่าง และเพื่อสร้างแนวทางการจัดการและสร้างสรรค์เนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบการสร้างสรรค์ภาพถ่ายท่องเที่ยวด้วยทฤษฎีแรงจูงใจและรสนิยมการถ่ายภาพท่องเที่ยวสามารถสรุปเป็นรายการเนื้อหาภาพถ่ายท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งกลุ่มเนื้อหาออกเป็นการหลีกหนี ที่เกี่ยวกับกิจกรรมพักผ่อนและคุณภาพสถานที่พักและบริการ การค้นหาและสำรวจ ที่เกี่ยวกับอาหารและสิ่งแปลกตา วัฒนธรรม ธรรมชาติ และกิจกรรมผจญภัย ปัจเจกบุคคล ที่เป็นลักษณะการเล่าเรื่องราวว่าใช้ตัวนักท่องเที่ยวหรือไม่ และระหว่างบุคคล ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวกับคนในท้องถิ่น 2) ส่วนการสร้างแนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมได้นำภาพถ่ายจากอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณและรายการเนื้อหาภาพถ่ายท่องเที่ยว การวิเคราะห์สามารถสรุปเป็นแนวทางการจัดการเนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่แบ่งกลุ่มเนื้อหาภาพถ่ายท่องเที่ยวตามลำดับความสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อหาธรรมชาติและการพักผ่อนที่เกี่ยวกับพื้นที่ทางธรรมชาติและสถานบริการในแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มเนื้อหากิจกรรมและการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพื้นที่ทางวัฒนธรรมและกิจกรรมพักผ่อน และกลุ่มเนื้อหาตามลักษณะการเล่าเรื่องราวที่เป็นเนื้อหาเฉพาะเจาะจงไปตามสถานที่และนักท่องเที่ยว เช่น สิ่งแปลกตาและอาหาร เนื้อหาที่เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก คนในท้องถิ่นแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมตื่นเต้น ผจญภัย โดยเนื้อหาแต่ละด้านมีลักษณะการนำเสนอโดยใช้ตัวนักท่องเที่ยวในภาพและไม่ใช้ตัวนักท่องเที่ยวสลับกันตามลำดับ ผลการวิจัยนอกจากเสนอการสร้างสรรค์เนื้อหาส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาพถ่ายโดยอินฟลูเอนเซอร์บนสื่อสังคมแล้วยังสามารถนำมาตีความให้เห็นลำดับความสำคัญของแรงจูงใจและความต้องการท่องเที่ยวต่างๆ ที่ศึกษาจากภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่อาจเป็นประโยชน์ทั้งในการศึกษาและการวางแผนสร้างสรรค์สื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | การถ่ายภาพ | th |
dc.subject | สื่อสังคม | th |
dc.subject | การส่งเสริมการท่องเที่ยว | th |
dc.subject | แรงจูงใจที่ทำให้ท่องเที่ยว | th |
dc.subject | Photography | en |
dc.subject | Social Network | en |
dc.subject | Tourism Promotion | en |
dc.subject | Travel Motivation | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.subject.classification | Arts, entertainment and recreation | en |
dc.subject.classification | Audio-visual techniques and media production | en |
dc.title | การสร้างเนื้อหาภาพถ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาภาพถ่ายบนสื่อสังคม | th |
dc.title | The Creation of Photographic Content for Tourism Promotion: A case study of Photographs on Social Network | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Tatiya Theppituck | en |
dc.contributor.coadvisor | ตติยา เทพพิทักษ์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | tatiyath@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | tatiyath@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Doctor of Fine and Applied Arts (D.F.A.) | en |
dc.description.degreename | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศป.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Art and Design | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาศิลปะและการออกแบบ | th |
Appears in Collections: | คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NattaponNukulkam.pdf | 19.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.