Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5691
Title: การจัดการเรียนแบบ STEM EDUCATION เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในประเพณีไหลแพไฟ จังหวัดอุตรดิตถ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก
Using STEM EDUCATION Management to develop creative problem-solving skills in the Uttaradit Lai Phae Fai tradition of Grade 2 students on prisms and cylinders
Authors: Wipaporn Wiang-ngurn
วิภาพร เวียงเงิน
Sirinapa Kijkuakul
สิรินภา กิจเกื้อกูล
Naresuan University
Sirinapa Kijkuakul
สิรินภา กิจเกื้อกูล
sirinapaki@nu.ac.th
sirinapaki@nu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้ STEM EDUCATION
ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
ปริซึมและทรงกระบอก
ประเพณีไหลแพไฟ
STEM EDUCATION
Develop Creative Problem-Solving Skills
Prisms and Cylinders
Lai Phae Fai Tradition
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) study how to use STEM EDUCATION, 2) to develop the creative problem-solving skills of Mathayomsuksa 2 students in Prisms and Cylinders and 3) study the results of developing creative problem-solving skills of Mathayomsuksa 2 students in Prisms and Cylinders using STEM EDUCATION management. The target groups were 2 students studying in the 2nd semester of the 2022 academic year from one of the Educational Opportunity Expansion Schools in Tron District, Uttaradit Province with purposive sampling. The research instruments included activity form, reflective form, students’ tasks, and a creative problem- solving skill test with the reliability level of 0.879. The data were analyzed through content analysis. The findings found that 1) the STEM EDUCATION approach needed 6 steps: (1) problem identification: it concerned the use of a situation that is relevant to students’ everyday lives; (2) data gathering: students should be able to understand the various concepts involved in the situation; (3) process design for problem solving: this encouraged students to use mathematical concepts to solve problems; (4) planning and solving a problem, this enabled students to see the relationship between the mathematical concepts and tasks; (5) testing and improving the tasks, students needed to present them clearly in front of the class and (6) presenting solutions, this allowed students to reflect on how to use mathematical concepts to solve problems or tasks. 2) Students can develop creative problem-solving skills by being able to understand the problem with the best ability but have the least ability to prepare to take an action, and 3) the results of developing creative problem-solving skills were found that in the 1st – 3rd cycles, the students had an average percentage in a good level of 87.5%, 75%, and 87.5% respectively.
การวิจัยวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION 2) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เมื่อจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 คน โดยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ชิ้นงานของนักเรียน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.879 ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน (1) ขั้นระบุปัญหา ควรเป็นสถานการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน (2) ขั้นรวบรวมข้อมูล ควรให้นักเรียนได้เข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ควรกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา (4) ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ควรกระตุ้นให้นักเรียนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในการสร้างชิ้นงาน (5) ขั้นทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา ควรมีการแสดงผลการทดสอบ โดยอาจให้นำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนให้นักเรียนสามารถเห็นได้ชัดเจน (6) ขั้นนำเสนอผลการแก้ไขปัญหา ควรให้นักเรียนได้สะท้อนหรือตีความเกี่ยวกับการใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์เข้ามาแก้ปัญหาหรือสร้างชิ้นงาน 2) นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ โดยสามารถทำความเข้าใจปัญหาได้ดีที่สุด แต่มีความสามารถในการเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการแก้ปัญหาได้น้อยที่สุด  และ 3) ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ทั้งวงจรที่ 1 - 3 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.5, 75 และ 87.5 ตามลำดับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5691
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WipapornWiang-ngurn.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.