Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5673
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
Authors: Anuwat Tasabut
อนุวัฒน์ ทัศบุตร
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
Naresuan University
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
jitimaw@nu.ac.th
jitimaw@nu.ac.th
Keywords: การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การทำงานเป็นทีม
สถานศึกษา
Participative Management
Team Work
School
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to 1) study participative management of school administrators, 2) study effective teamwork in school, and 3) study the relationship between participative management of school administrators and effective teamwork in school  under Phitsanulok Primary Educational Area Office 2. The Sample group were 297 administrators and teachers under the Office of Phitsanulok Primary Educational Area 2, in academic year 2021. The instrument was a questionnaire with a 5-level estimation scale. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that 1. The Overall result of the participative management of school administrators was at a high level. When considering by each aspect, it was found that the highest mean was participation in making decision and the lowest aspect was Participation in receiving benefits. 2. The Overall result of effective teamwork in school was at a high level. When considering by each aspect, it was found that the highest mean was having the same goals and the lowest aspect was two-way communication. 3. The result of relationship between participatory management of school administrators and effective teamwork in school under Phitsanulok Primary Educational Area Office 2 found that there was a positive correlation at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาและ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์  2. ผลการศึกษาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารสองทาง   3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5673
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AnuwatTasabut.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.