Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5648
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Development of Learning Activity by using The Flipped Classroom and Visual Thinking Strategy to Enhance Mathematical Concepts and Mathematical Solving Problem for Grade X Students.
Authors: Oranicha Sangkaw
อรณิชา แสงแก้ว
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
Naresuan University
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
wichianth@nu.ac.th
wichianth@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
ห้องเรียนกลับด้าน
กลวิธีการคิดเป็นภาพ
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
ความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Learning Activity
The Flipped Classroom
Visual Thinking Strategy
Mathenatical Concepts
Mathematical Solving Problem
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The aims of this research were (1) to create and determine the effectiveness of learning activities by using the inverted classroom concept together with visual thinking strategies; to enhance concepts and ability to solve mathematical problems For students in grade X according to the criteria 75/75 (2) to study the results of learning activities using the inverted classroom concept together with visual thinking strategies. to enhance concepts and ability to solve mathematical problems For grade X students, the researcher followed the research process by using Research and Development. The sample consisted of 30 grade X students in the second semester of the academic year 2021, Naresuan University Demonstration Secondary School by using cluster random sampling using one classroom as a random unit. The research tools were learning activities using the inverted classroom concept together with visual thinking strategies. the conceptual measurement from Mathematics Problem Solving Ability Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test (t-test Dependent). The results of the study found that. 1. Learning activities using the inverted classroom concept combined with visual thinking strategies. to enhance concepts and ability to solve mathematical problems For grade X students, it consists of a 5-step learning process, namely step 1: preparation for teaching, media preparation, and assignment. Learning step 2 Study the material from the media. and record learning results Step 3: Summarize conceptualization Using visual thinking strategies. Step 4: Practice problem solving process. Step 5: Apply concepts to solve mathematical problems. is appropriate at a high level the efficiency of the activity was 75.19/75.27, which was in accordance with the 75/75 criterion. 2. Grade X students had mathematical concepts after learning through learning activities using the inverted classroom concept together with visual thinking strategies. to enhance concepts and ability to solve mathematical problems for grade X students was higher than before at the statistically significant level of 0.05. 3. Grade X students could solve mathematical problems after school with learning activities using the inverted classroom concept together with visual thinking strategies. to enhance concepts and ability to solve mathematical problems for grade X students was higher than before at the statistically significant level of 0.05.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75  (2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยโดยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 30 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ  แบบวัดมโนทัศน์ แบบวัดความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและและการทดสอบค่า t (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 1 เตรียมสอน เตรียมสื่อ และมอบหมายงาน  ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 2 ศึกษาเนื้อหาจากสื่อ และบันทึกผลการเรียนรู้  ขั้นตอนการเรียนที่ 3 สรุปสร้างมโนทัศน์ โดยใช้กลวิธีการคิดเป็นภาพ  ขั้นตอนที่ 4 ฝึกกระบวนการแก้ปัญหา  ขั้นตอนที่ 5 นำมโนทัศน์ไปใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพของกิจกรรมเท่ากับ 75.19/75.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5648
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
OranichaSangkaw.pdf13.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.