Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5643
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร The Development of Phenomenal-based Learning Activities of Social Studies Subjects to Develop BCG Economy Model Concept of Secondary School 2 Students in Mueang Subdistrict, Kamphaeng Phet Province |
Authors: | Sakin Sinsing สขิล สินสิงห์ Nattachet Pooncharoen ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ Naresuan University Nattachet Pooncharoen ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ Nattachetp@nu.ac.th Nattachetp@nu.ac.th |
Keywords: | ปราฏการณ์เป็นฐาน สังคมศึกษา โมเดลรูปแบบเศรษฐกิจบีซีจี Phenomenal based learning Social studies BCG Economy model |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aims to 1) study the current state of social studies learning activities to develop the BCG economy model concept among students in Mueang Subdistrict, Kamphaeng Phet Province, and 2) create social studies learning activities to develop the BCG economy model concept for Secondary School Year 2 students in Mueang Subdistrict, Kamphaeng Phet Province. This qualitative study uses interviews with social studies teachers in secondary schools within the Mueang Subdistrict, Kamphaeng Phet Province. The data analysis was conducted by categorizing issues according to predetermined criteria, and the reliability of the data was checked using methodological triangulation. The research instruments consisted of 1) in-depth interviews, 2) learning activity plans, and 3) reflection forms of the phenomenal-based learning activities to develop the BCG economy model concept.
The research findings revealed that 1) the current state of social studies learning activities indicated that teachers rarely used phenomena-based learning activities and lacked knowledge and understanding of the BCG economy model concept, resulting in the absence of such content in their lessons, and 2) the development of social studies phenomenal-based learning activities to develop the BCG economy model concept for Secondary School Year 2 students in Mueang Subdistrict, Kamphaeng Phet Province found that learning activities integrating social studies content, specifically in economics, with the BCG economy model concept were successfully created using phenomena-based learning activities. As a result, students were able to develop the BCG economy model concept, which consists of three aspects: bioeconomy, circular economy, and green economy. These concepts promote sustainable development and can be applied for future applications. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG economy model ของนักเรียนพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยและเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ครูสอนวิชาสังคมศึกษา และนักเรียนกลุ่มทดลอง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิเคราะข้อมูลผ่านการจำแนกประเด็นศึกษาตามที่กำหนด ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงกึ่งโครงสร้าง 2) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model 3) การสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมมศึกษา โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ครูผู้สอนนำวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์มาใช้น้อยมาก และครูผู้สอนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด BCG Economy Model จึงทำให้ไม่มีการสอดแทรกเนื้อหาส่วนนี้ลงไปในบทเรียน และ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ได้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ด้านสาระเศรษฐศาสตร์ มาบูรณาการกับแนวคิด BCG Economy Model ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาแนวคิด BCG Economy Model อันประกอบไปด้วยแนวคิดทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อนาคต |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5643 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SakinSinsing.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.