Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5636
Title: การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน
DEVEOPMENT OF AN EVALUATION MODEL OF TEACHER COMPETENCY BASED ON THE KING’S PHILOSOPHY FOR STUDENT TEACHER OF RAJABHAT UNIVERSITY: APPLYING THE THEORY – BASED EVALUATION APPROACH
Authors: Pattawan Chaiyaphak
ภัทวรรณ์ ไชยภักดิ์
Pakorn Prachanban
ปกรณ์ ประจันบาน
Naresuan University
Pakorn Prachanban
ปกรณ์ ประจันบาน
pakornp@nu.ac.th
pakornp@nu.ac.th
Keywords: สมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา
ทฤษฎีโปรแกรม
รูปแบบการประเมินสมรรถนะครู
Competency based on the King’s philosophy
Theory program
Evaluation model of teacher competency
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research objectives of this research are to: The create the theory program of teacher competency based on the King’s philosophy and the development of the evaluation model for teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students from Rajabhat University on the application of theory evaluation model. The research was separated into 2 steps. The first step was to create the theory program of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students from Rajabhat University using integrative approach. The second step was to develop the assessment model for teacher competency according to the king’s philosophy of teacher students in Rajabhat Universities based on the application of theoretical evaluation model. The results were as follow: 1. The elements of theory program of teacher competency based on the king’s philosophy of teacher students in Rajabhat University were action model and change model of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University. And creating theory program to structural equation model of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University to use in the assessment and study the influencing factors to teacher competency based on the King’s philosophy. The structural equation model consisted of the intervention, 7 latent variables and 15 observation variables. 2. The elements of the evaluation model for teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University the applying of theory evaluation model were principle and reasons, objectives of the evaluation, targets of evaluation, assessor and the person who being evaluation, the person who use the evaluation result, evaluation method, evaluation tools, criteria used for evaluation, report of the evaluation and the evaluation model procedures. The assessment results of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University the applying of theory evaluation model found that the overall assessment result compared with the criteria used in the assessment, the intervention, the determinants, and the outcome were all at the decent level. 3. The analyzed the statistic and the correlation coefficient of the structural equation model of teacher competency theory program based on the King's philosophy of student teachers in Rajabhat University found that the all variables with the highest assessment value a high level of average score and analyzed the correlation coefficient of the structural equation model of theory program of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University, the results showed that the correlation coefficient value of all the observable variables and all the latent variables had a positive value and all variables had a significant statistic value. Analyzing the consistency between the structural equation model of theory program of teacher competency based on the King’s philosophy of teacher students in Rajabhat University and the empirical data, the result showed that the statistical value used to verify the consistency between model and the empirical data were Chi-square = 63.26, df = 42, p - value = 0.0186, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, and RMSEA = 0.025. When analyzed the influence of variables in the structural equation model, researcher found that teacher competency based on the King’s philosophy was directly influenced by the learning management skill, relationship building skill between communities and student’s guardians, teacher’s spirit, and professional ethics. The said competency was also indirectly influenced by studying and internship which the influence value of all the variables had statistical significance. The variables that had the most influence on teacher competency were teacher’s spirit and professional ethics. After that were studying, internship, learning management skill, relationship building skill between communities and student’s guardians, and extra-curricular activities, respectively.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ คือ 1. การสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฎ ด้วยวิธีการแบบผสม (Integrative approach) และ 2. การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ 1. องค์ประกอบของทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย โมเดลการกระทำ (Action model) และโมเดลการเปลี่ยนแปลง (Change model) สมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และนำทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาสร้างโมเดลสมการโครงสร้างของสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อใช้ในการประเมิน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัว และตัวสังเกตได้ 15 ตัว 2. องค์ประกอบของรูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน ผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน ผู้ใช้ผลการประเมิน วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน การรายงานผลการประเมิน และขั้นตอนการใช้รูปแบบการประเมิน นำรูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐานไปทดลองใช้ โดยนำผลการประเมินเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้น พบว่า ตัวแทรกแซง (Intervention) ตัวกำหนด (Determinants) และผลลัพธ์ มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในระดับดี ทุกด้าน 3. การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และสัมประสทธิ์สหสัมพันธ์ของโมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า ตัวแปรทุกตัวมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้ และตัวแปรแฝงในโมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทุกตัวมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้โมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครู ตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติที่ใช้เพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง ดังนี้ Chi-square = 63.26, df = 42, p - value = 0.0186, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.025 การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรในโมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครู ตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า สมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชาได้รับอิทธิพลทางตรงจากทักษะการจัดการเรียนรู้ ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและผู้ปกครอง และจิตวิญญาณความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการเรียนการสอน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งค่าอิทธิพลของตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5636
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PattawanChaiyaphak.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.