Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5635
Title: รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เขตภาคเหนือ
PHYSICAL ACTIVITY MANAGEMENT MODEL FOR HANDICAPPED STUDENTS WITH PHYSICAL DISABILITIES IN STATE HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS IN THE NORTHERN REGION
Authors: Parkorn Tuisri
ประกรณ์ ตุ้ยศรี
Kajornsak Roonprapunta
ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์
Naresuan University
Kajornsak Roonprapunta
ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์
kajornsakr@nu.ac.th
kajornsakr@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย
นิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
Physical Activity Management Model
Student with disabilities
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research study has as objectives to 1) study relationship between factors related to the behavior of having physical activities and study the factors of physical activity management for university students with physical disabilities, 2) develop and assess the quality of an activity management model for students with disabilities, and 3) evaluate the physical activity management model for students with disabilities. The study was conducted in 3 steps according to the research objectives as follows; 1) In studying relationship between factors related to the behavior of having physical activities and studying the factors of physical activity management for university students with physical disabilities. The study population consisted of disabled university students with a sample of 112 disabled students from 9 public universities in the northern region of Thailand selected purposively. 18 experts were selected to conduct physical activity management model with the sample population from various institutions. The research instruments constituted questionnaires and interview. Data were analyzed based on Pearson Product Moment correlation and content analysis. 2) The physical activity management model for students with disabilities was developed and quality and suitability examined through focus group discussion with 9 experts. 3) An evaluation of the physical activity management model was done by conducting a survey on the opinions of the executives and related officers with group of 18 experts.  Mean and Standard Deviation were used for data analyses. The results revealed as follows: 1. The relationship between factors related to behavior of having physical activities for university students with physical disabilities are found to have predisposing factor in knowledge, factor in management, budget, officers, equipment and facilities, and supplementary factors inside the university have relationship with physical activity behavior at a  significant level of .05. For the relationship related to predisposing factors in attitude, supplementary factor in officers and external factor revealed no relationship with the behavior of having physical activities. The results of study the factors of physical activity management for university students with physical disabilities consists of 3 components namely: 1) input 2) process and 3) output. 2. The developed Physical Activity Management Model for students with disabilities consisted of three components namely; 1. Inputs, consists of predisposing factor in knowledge, management, budget, officers, equipment and facilities, and supplement factor inside the university, Component 2.  Process, consists 4 steps such as planning, organization, leadership, evaluation, and 3. Output consists of 1) students with disabilities are supported with extra physical activities and more approach to specific and standardized facilities for students with disabilities and 2) availability of suitable physical activities for university students with physical disabilities 3) availability of specific and standardized areas and equipment for physically disabled students. 3. Evaluation of physical activity management model for disabled students revealed possibilities in practicality and usefulness of the model are ant a highest levels ( Average = 4.55) and ( Average = 4.61) respectively.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การผสานวิธีในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายและศึกษาองค์ประกอบของการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย วิธีการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่1 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของนิสิตนักศึกษาพิการทางด้านร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ทั้งหมด 9 มหาวิทยาลัย จำนวน 112 คน และศึกษาองค์ประกอบของการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้านกิจกรรมทางกาย จำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่2 การสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่1มายกร่างรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่3 ทำการประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย โดยการทำแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ( Average ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย สำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย พบว่า ด้านปัจจัยนำด้านความรู้,  ปัจจัยเอื้อด้านการบริหารจัดการ,  ปัจจัยเอื้อด้านงบประมาณ, ปัจจัยเอื้อด้านบุคคล,  ปัจจัยเอื้อด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยเสริมจากภายในมหาวิทยาลัย  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  ส่วนในด้าน ปัจจัยนำด้านทัศนคติ, ปัจจัยเสริมด้านบุคลากร และปัจจัยเสริมจากภายนอกมหาวิทยาลัย  ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกาย และผลการศึกษาองค์ประกอบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 สิ่งนำเข้า   องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ และองค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต   2. รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย  ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1  สิ่งนำเข้า ประกอบไปด้วย  ปัจจัยนำด้านความรู้  ปัจจัยเอื้อด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยเอื้อด้านงบประมาณ  ปัจจัยเอื้อด้านบุคคล ปัจจัยเอื้อด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย  องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ  ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน  1) การวางแผน 2) การจัดองค์การ 3) การนำ 4) การประเมิน องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต ประกอบไปด้วย 1) นิสิตนักศึกษาพิการ ได้รับการสนับสนุนในการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น และสามารถเข้าถึงวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มาตรฐานได้ง่ายขึ้น 2) มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีบกพร่องทางด้านร่างกาย 3)  มีสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เฉพาะและได้มาตรฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย 3. การประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย   มีความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติและความมีประโยชน์ของรูปแบบฯ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” (Average = 4.55) และ ( Average = 4.61)  ตามลำดับ 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5635
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ParkornTuisri.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.