Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5618
Title: | ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ประเทศไทย Causal Factors Affecting Industrial Business Effectiveness in Digital Industry Promotion and Innovation Zone, Thailand |
Authors: | Chiranun Kamolsin จิรนันท์ กมลสินธุ์ Vichayanan Rattanawiboonsom วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม Naresuan University Vichayanan Rattanawiboonsom วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม vichayananr@nu.ac.th vichayananr@nu.ac.th |
Keywords: | ปัจจัยเชิงสาเหตุ ประสิทธิผลทางธุรกิจ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล Causal factors Business effectiveness Industrial promotion zones and digital innovations |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Subject research Causal Factors Affecting Industrial Business Efficiency in Thailand's Digital Industry and Innovation Promotion Zone Using Mixed Methods by Conducting Qualitative and Quantitative Research Methods and Qualitative Research Methods in the Same Research. The objectives are as follows: 1) to study the causal factors affecting the industrial business effectiveness in the digital industry and innovation promotion zone; 2) to study the factors related to the industrial business effectiveness in the digital industry and innovation promotion zone; and 3) to study Develop industrial business effectiveness models in the industrial promotion zone and digital innovation. The researchers used quantitative research techniques. (Quantitative Method) mainly by using survey research techniques and model development research techniques. Structural equations (Structural Equation Model, SEM), and a causal relationship (Casual Model Relationship), are quantitative research results. The population and sample group are executives of SMEs in the Digital Industry and Innovation Promotion Zone, which produces innovative hardware and devices, software and automation, digital services, digital content, and data communication devices and services. And digital infrastructure, which was successful in the industrial promotion and digital innovation in the amount of 440 samples by using purposive sampling By analyzing the correlation model between the causal factor variables, including factors in government support policy (Government Support), characteristics of entrepreneurship. (Entrepreneurial Orientation), Market Orientation, Corporate Social Responsibility, Operational Performance, and SMEs Performance. Grow the organization's profitability, return, and business confidence business returns with a ready-made program to compare the consistency between the developed model and the empirical data by criteria to verify the consistency of the model and the developed empirical data are consistent with the observed data. This is consistent with the analytical results, GFI is 1.000, the adjusted GFI is 0.9680, close to 1, and the root-mean-square-mean-square-index of the section the remainder (RMR) is equal to 0.02104, approaching zero. The results of the research indicate the policy support of the government. Entrepreneurial characteristics Focus on marketing, social responsibility, and corporate performance measurement. And organizational effectiveness with the consistency of the empirical data model. As for the factors of government support policies, they directly influence the characteristics of entrepreneurship: market-oriented factors and social responsibility factors through mediation variables. Organizational performance measurement factors and organizational effectiveness factors are directly and indirectly affected by government support policies. Characteristics of entrepreneurship, market focus, social responsibility, and measuring the organization's performance with the consistency of empirical data models used by people involved in the management or relevant departments to evaluate and develop for the success of governance that affects industrial business effectiveness. In the Industrial Promotion and Digital Innovation Zone next Thailand, the researcher has collected additional qualitative data (Qualitative Data Collective) with in-depth interview techniques with target groups (Key Information) in the eastern region, there are Chachoengsao, Chonburi, and Rayong provinces, totaling nine people. The research results were consistent with quantitative research. The causal factors affecting industrial business effectiveness in Thailand's digital industrial and innovation promotion zone include government support policies, characteristics of entrepreneurship, Corporate Social Responsibility, Market Orientation, Operational Performance, and SMEs Performance. to the effectiveness of the industrial business in the Industrial Promotion Zone and Digital Innovation of Thailand for further utilization. การวิจัยเรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed methods) โดยทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative and Quantitative Research Methods) และเชิงคุณภาพในการวิจัยเรื่องเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) เป็นหลัก โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และใช้เทคนิคการวิจัยแบบการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model, SEM) ซึ่งเป็นการหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Casual Model Relationship) ผลการวิจัยเชิงปริมาณแล้ว โดยมีประชากรและกลุ่มตัวย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร SMEs ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ที่ผลิตฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ ซอฟต์แวร์และระบบอัตโนมัติ บริการด้านดิจิทัล อุปกรณ์และบริการสื่อสารข้อมูลและเนื้อหาดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล จำนวน 440 ตัวอย่าง โดยใช้การคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยด้านด้านนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล (Government Support) คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) ด้านมุ่งเน้นตลาด (Market Orientation) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ด้านการวัดผลดำเนินการขององค์กร (Operational Performance) และด้านประสิทธิผลองค์กร (SMEs Performance) และปัจจัยที่เป็นตัวแปรตาม ได้แก่ ด้านการเติบโตขององค์กร ด้านการทำกำไร ด้านความมั่นคงทางธุรกิจ ด้านผลตอบแทนทางธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อทำการเปรียบเทียบถึงความกลมกลืนระหว่างโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยเกณฑ์ในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.9680 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.02104 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์ โดยผลการวิจัยชี้ว่าด้านนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านมุ่งเน้นตลาด ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการวัดผลดำเนินการขององค์กร และด้านประสิทธิผลองค์กร ที่มีความสอดคล้องของโมเดลข้อมูลเชิงประจักษ์ ในส่วนของปัจจัยนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลส่งผลอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ ปัจจัยมุ่งเน้นตลาดและปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านตัวแปรสื่อกลาง ปัจจัยการวัดผลดำเนินการขององค์กร และปัจจัยประสิทธิผลองค์กรได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมจากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นตลาด ความรับผิดชอบต่อสังคม และการวัดผลดำเนินการขององค์กร ที่มีความสอดคล้องของโมเดลข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการบริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปทำการประเมินและพัฒนาเพื่อความสำเร็จของการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรม ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ประเทศไทย ต่อไป ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติม (Qualitative Data Collective) ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มเป้าหมาย (Key Information) กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ภาคตะวันออกประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมจำนวน 9 คน ผลการวิจัยสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ประเทศไทย ได้แก่ นโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล (Government Support) คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) การมุ่งเน้นตลาด (Market Orientation) การวัดผลดำเนินการขององค์กร (Operational Performance) ประสิทธิผลองค์กร (SMEs Performance) ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ประเทศไทย ไปใช้ประโยชน์ต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5618 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChiranunKamolsin.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.