Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5587
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Rattchanun Uruekoran | en |
dc.contributor | รัชนันท์ อุรุเอกโอฬาร | th |
dc.contributor.advisor | Anjana Fuangchan | en |
dc.contributor.advisor | อัลจนา เฟื่องจันทร์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-07-04T07:12:39Z | - |
dc.date.available | 2023-07-04T07:12:39Z | - |
dc.date.created | 2565 | en_US |
dc.date.issued | 2565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5587 | - |
dc.description.abstract | Background and Objectives: Diabetes mellitus is a significant non-communicable disease due to its role as a major cause and risk factor for life-threatening conditions. Currently, insulin is an effective medication for diabetes management, and popular injection devices include syringes and pen. However, some patients still demonstrate incorrect insulin injection techniques which can lead to treatment failures. This study aimed to determine the prevalence and factors associated with improper insulin injection techniques. Methods: This cross-sectional descriptive study included subjects aged 20 years and above with type 2 diabetes receiving insulin with syringes, pre-filled insulin pen or pen-fill insulin pen more than 1 month and self-administering insulin. A total of 294 participants were recruited from the diabetes clinic of Banglamung hospital, Chonburi province, between March and August 2021. Data collection involved medical record review and patients interview. The insulin injection technique was assessed through observation. Descriptive statistics were used for data analysis. The correlation was determined using the Chi-square test with a significance level of 0.05. Results: A total of 294 diabetes patients were included in this study. Most of the participants were female (67.3%) with a mean age of 57.89 ± 10.34 years. The average body mass index (BMI) was 27.96 ± 5.3 kg/m2. The mean duration of diabetes was 13.95 ± 8.85 years, and the mean Hemoglobin A1C (HbA1c) level over the past 6 months was 8.88 ± 1.83%. Additionally, the study revealed that 96.3% of the participants had comorbidities. Some of the participants experienced side effects from insulin. The most common side effect of insulin use was injection site bruising (44.5%), followed by bleeding at the injection site (37.8%). The prevalence of improper insulin injection techniques was 80.3%. Significant factors associated with improper insulin injection techniques included age (P=0.008), BMI (P=0.036), duration of diabetes (P=0.008) and duration of insulin use (P=0.014). Conclusions: Improper insulin injection techniques also have a high prevalence. Healthcare providers should emphasize educating patients about proper injection techniques. Even if the patient has been using insulin for a long time, the patient's insulin injection technique should be reviewed regularly to ensure patients administer insulin appropriately. | en |
dc.description.abstract | หลักการและวัตถุประสงค์ : โรคเบาหวานจัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ เนื่องจากเป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคสำคัญ ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ปัจจุบันอินซูลินเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคเบาหวาน และเครื่องมือที่ใช้ฉีดอินซูลินที่นิยมใช้ ได้แก่ กระบอกฉีดยา (syringe) และ ปากกา ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการฉีดยาจากเภสัชกร อย่างไรก็ตามยังพบผู้ป่วยที่มีเทคนิคการใช้อินซูลินที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของการรักษาได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับกระบวนการฉีดยาอินซูลินที่ไม่เหมาะสม วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับอินซูลินร่วมกับกระบอกฉีดยา ปากกาชนิดถอดประกอบได้หรือชนิดบรรจุสำเร็จ ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป และฉีดด้วยตนเอง ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2564 จำนวน 294 ราย ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ การประเมินกระบวนการฉีดอินซูลินเป็นการให้กลุ่มตัวอย่างสาธิตการฉีดร่วมกับการสังเกตโดยผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการหาความสัมพันธ์ใช้ Chi-square test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.3 อายุเฉลี่ย 57.89 ± 10.34 ปี ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) เฉลี่ย 27.96 ± 5.3 กก./ตรม. ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 13.95 ± 8.85 ปี ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมย้อนหลัง 6 เดือน (Hemoglobin A1C ; HbA1C) เท่ากับ 8.88 ± 1.83% และส่วนใหญ่มีภาวะโรคร่วม (ร้อยละ 96.3) ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินพบการเกิดรอยช้ำมากสุด (ร้อยละ 44.5) รองลงมา คือ เลือดออกบริเวณที่ฉีด (ร้อยละ 37.8) การศึกษานี้พบความชุกของกระบวนการฉีดอินซูลินไม่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 80.3 ส่วนปัจจัยด้านบุคคลที่สัมพันธ์กับกระบวนการฉีดอินซูลินไม่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (P=0.008) ค่า BMI (P=0.036) และระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน (P=0.008) สำหรับปัจจัยด้านการรักษา ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้อินซูลิน (P=0.014) สรุปผล : การฉีดอินซูลินไม่เหมาะสมยังมีความชุกสูงอยู่ บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญเรื่องเทคนิคการฉีดและจัดให้มีการทบทวนเป็นประจำ ถึงแม้จะใช้อินซูลินมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม เพื่อให้ผู้ป่วยใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | อินซูลิน | th |
dc.subject | เทคนิคการฉีดอินซูลิน | th |
dc.subject | การฉีดอินซูลินไม่เหมาะสม | th |
dc.subject | Insulin | en |
dc.subject | Insulin Injection Technique | en |
dc.subject | Improper Insulin Injection Technique | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.subject.classification | Professional, scientific and technical activities | en |
dc.subject.classification | Pharmacy | en |
dc.title | ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับกระบวนการฉีดอินซูลินไม่เหมาะสม | th |
dc.title | Prevalence and Factors Associated with Improper Insulin Injection Technique | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Anjana Fuangchan | en |
dc.contributor.coadvisor | อัลจนา เฟื่องจันทร์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | anjanaf@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | anjanaf@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Master of Pharmacy (M.Pharm.) | en |
dc.description.degreename | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
Appears in Collections: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RattchanunUruekoran.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.