Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5583
Title: ผลทางคลินิกของผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าในโรคอ้วน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน 
Clinical effects of products containing Hibiscus sabdariffa L. (Rosella) and Lippia citriodora L. (Lemon Verbena) on Obesity: A systematic review and meta-analysis
Authors: Phiyanuch Thimkorn
ปิยะนุช ทิมคร
Supawan Pongpattanawut
ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ
Naresuan University
Supawan Pongpattanawut
ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ
supawanp@nu.ac.th
supawanp@nu.ac.th
Keywords: กระเจี๊ยบแดง
เลม่อนเวอบีน่า
โรคอ้วน
ภาวะน้ำหนักเกิน
Hibiscus sabdariffa L.
Lippia citriodora L.
obesity
overweight
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Although Hibiscus sabdariffa L. as single and mixed formulations have been studied for the treatment of obesity, there is no clear conclusion about the effects. The purpose of this study was to determine the efficacy and safety of combination products of Hibiscus sabdariffa L. (Rosella) and Lippia citriodora L. (Lemon Verbena) on obesity treatment. We searched randomized controlled trials (RCT) from bibliographic databases, i.e. PubMed, Embase, and the Cochrane central register of clinical trial (CENTRAL). We included RCTs that studied the effects of Hibiscus sabdariffa L. and Lippia citriodora L. combination products on obesity treatment in subjects aged ≥18 years old who have body mass index (BMI) ≥ 23 kg/m2 or have been diagnosed with being overweight or obese; and reported one of the following clinical outcomes: 1) Anthropometric parameters were body mass index, body weight, waist circumference, hip circumference, biceps skinfold thickness, and abdominals skinfold thickness. 2) Appetite-related hormones includes fibroblast growth factor-23 (FGF-23), glucagon-like peptide-1 (GLP-1), ghrelin, insulin, leptin, adiponectin, C-peptide, gastrointestinal peptide (PYY), and resistin. The quality of the included RCTs was assessed using the Cochrane Risk of Bias version 2 (RoB 2). Results were analyzed under a random-effects model and reported as mean differences (MD) with 95% confidence intervals (95%CI). The Review Manager 5.4 (RevMan 5.4) was used for statistical analysis. A total of five RCTs were included in this study, with a total of 313 subjects. The quality of the five trials was justified as having some concerns risk of bias. The pooled estimates of the meta-analysis showed that the intervention group can significantly reduce waist circumference (MD = -4.59 cm, 95%CI = -9.01, -0.16).  However, these combination products have no effects on BMI and body weight compared to the placebo group. No adverse events were reported. Current evidence showed that 500 mg/day of a combination products of Hibiscus sabdariffa L. and Lippia citriodora L. (35%:65% by weight, respectively) for a period of 2 months or more can reduce waist circumference, with no safety concerns. Therefore the product has the potential to be further developed. However, further high-quality trials are needed to enhance the confidence of the evidence generated. Consequently, it should not be used as a first choice in the treatment of obesity, but it can be used as a complementary treatment with other methods.
ที่ผ่านมามีการศึกษาผลของการใช้กระเจี๊ยบแดงทั้งที่เป็นสูตรเดี่ยวและสูตรผสมสำหรับการรักษาโรคอ้วน แต่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ชัดเจน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิศักย์และเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าในการรักษาโรคอ้วน ผู้วิจัยทำการสืบค้นการทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, Embase และ Cochrane Central Register of Clinical Trial (CENTRAL) จากนั้นคัดเลือกการศึกษาที่ทำการศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าในการรักษาโรคอ้วนในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 kg/m2 ขึ้นไป หรือได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน และวัดผลลัพธ์ทางคลินิกผลลัพธ์ใดผลลัพธ์หนึ่งต่อไปนี้ 1) สัดส่วนของร่างกาย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัว เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก ความหนาของผิวหนังที่ต้นแขนด้านหน้า (biceps skinfold thickness) ความหนาของผิวหนังที่หน้าท้อง (abdominals skinfold thickness) 2) ระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร ได้แก่ fibroblast growth factor-23 (FGF-23), glucagon-like peptide-1 (GLP-1), ghrelin, insulin, leptin, adiponectin, C-peptide, gastrointestinal peptide (PYY) และ resistin ประเมินการศึกษาที่ถูกคัดเข้ามาทบทวนด้วย Cochrane Risk of Bias (RoB 2) วิเคราะห์ผลลัพธ์รวมโดยใช้โมเดลแบบสุ่มและแสดงผลด้วยผลต่างของค่าเฉลี่ย (Mean Difference, MD)  กับช่วงความเชื่อมั่น 95% (95% Confidence Intervals, 95%CI) ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม Review Manager 5.4 (RevMan 5.4) พบงานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์คัดเข้าทั้งสิ้น 5 ฉบับ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 313 คน คุณภาพของงานวิจัยทั้ง 5 ฉบับ จัดว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอคติพอสมควร ผลจากการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า การได้รับผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าสามารถช่วยลดเส้นรอบเอวของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = -4.59 cm, 95%CI = -9.01, -0.16) แต่ไม่มีผลต่อดัชนีมวลกายและน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และไม่พบการรายงานเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การศึกษาที่มีในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าการใช้ผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าขนาด 500 มิลลิกรัมต่อวัน (ร้อยละ 35 ต่อ 65 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ) เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2 เดือน ขึ้นไป มีผลลดเส้นรอบเอวและมีความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงมีโอกาสที่จะได้การพัฒนาต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อยืนยันประสิทธิศักย์ในการรักษาโรคอ้วนที่ชัดเจน ควรมีการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิศักย์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ดังนั้น จึงไม่ควรใช้เลือกใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาโรคอ้วน แต่สามารถใช้เป็นทางเลือกเสริมในการรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ ได้ 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5583
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PhiyanuchThimkorn.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.