Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5555
Title: การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในทีมสหวิชาชีพสำหรับการจัดการ อาการปวดด้วยยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามอย่างต่อเนื่อง จนถึงที่บ้าน โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
Development of Pharmacist’s Role in Home Health Care of MultidisciplinaryTeam for Pain Management in Advanced Cancer Patient, Nongsua Hospital, Pathumthani
Authors: THIPSUKON JAROENPAN
ทิพย์สุคนธ์ เจริญพันธ์
Chanthonrat Sitthiworanan
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
Naresuan University
Chanthonrat Sitthiworanan
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
chanthonrats@nu.ac.th
chanthonrats@nu.ac.th
Keywords: การบริบาลเภสัชกรรม
การจัดการอาการปวด
มะเร็งระยะลุกลาม
เภสัชกรเยี่ยมบ้าน
บทบาทเภสัชกร
ทีมสหสาขาวิชาชีพ
pharmaceutical care
pain management
advanced cancer
pharmacist role
home health care
multidisciplinary team
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this action research was to develop the pharmacist’s role in a multidisciplinary team for pain management with opioids in advanced cancer patients at home. The samples were divided into 2 groups 14 medical staffs and 38 advanced cancer patients who used opioids to control pain. They were selected by purposive sampling. The data was collected between May and October 2020. The results of the developed pharmacist’s role in pain management before, after 1 week, and after 2 weeks were presented that the median of pain scores (out of 10) were reduced by statistically significant difference to 6, 4, and 4, respectively. The medication adherence measurements recorded in the diary were presented in median percentages of 75.00, 93.75, and 92.86, respectively, and medication taking behavior by the Thai (MTB-Thai) questionnaire was increased in the median score (out of 24) to 19.5, 23, and 23, respectively. In addition, the results of the developed the pharmacist’s role in pain management before and after the intervention was found that the increase statistically significant differences were shown in the median patient’s knowledge scores (out of 10) from 5 to 8 and the mean of patient’s quality of life (out of 108) from 53.09 to 74.57. Furthermore, the median of drug-related problems was reduced to a statistically significant difference to 1 and 0, respectively. The patient’s satisfaction scores (out of 5) were changed from 3.24 to 4.50, and the team’s satisfaction was increased from 3.00 to 4.60. This research shows that pharmacists can play the role of a multidisciplinary team for pain management in advanced cancer patients at home by monitoring the effectiveness of opioids, solving drug-related problem, monitoring medication adherence, and providing patient education. The outcomes can be seen in better in pain management, quality of life, knowledge, medication adherence and satisfaction of patients, and multidisciplinary team.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในทีมสหวิชาชีพสำหรับการจัดการความปวดทุกตำแหน่งด้วยยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามอย่างต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านบริบาลเภสัชกรรมก่อนและหลังการพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในการจัดการอาการปวดด้วยยา ได้แก่ ค่าคะแนนความปวด ปัญหาจากการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา ความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ยา การปฏิบัติตัว การจัดการกับผลข้างเคียงของยา คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจของผู้ป่วย รวมทั้งความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการพัฒนาบทบาทของเภสัชกร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ บุคลากรทางการแพทย์ 14 คน และผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่มีอาการปวด ซึ่งได้รับยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ ในการควบคุมอาการปวด 38 คน โดยการคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาเก็บข้อมูลระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 ผลการศึกษาก่อนและหลังการพัฒนาบทบาทของเภสัชกร 1 และ 2 สัปดาห์ พบว่า ค่ามัธยฐานของคะแนนความปวด (จากคะแนน 10) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 6, 4 และ 4 ตามลำดับ ด้านความร่วมมือในการใช้ยา โดยคิดคะแนนจากการบันทึกการรับประทานยาในสมุดคู่มือผู้ป่วยพบว่า ร้อยละคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเท่ากับ 75.00, 93.75 และ 92.86 ตามลำดับ และโดยวิธีตอบแบบสอบถามพฤติกรรมในการใช้ยาสำหรับคนไทย มีค่ามัธยฐานของคะแนน (จากคะแนน 24) เท่ากับ 19.5, 23 และ 23 ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาก่อน และหลังการพัฒนาบทบาทของเภสัชกร 1 สัปดาห์ พบว่า ค่ามัธยฐานของคะแนนความรู้ (จากคะแนน 10) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 5 และ 8 ตามลำดับ ผลการศึกษาก่อน และหลังการพัฒนาบทบาทของเภสัชกร 2 สัปดาห์ พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ย (จากคะแนน 108) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 53.09 และ 74.57 ตามลำดับ ค่ามัธยฐานจำนวนครั้งของปัญหาจากการใช้ยาต่อคนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 1 และ 0 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วย (จากคะแนน 5) เท่ากับ 3.24 และ 4.50 ตามลำดับ และระดับความพึงพอใจโดยรวมของบุคลากรทางการแพทย์ เท่ากับ 3.00 และ 4.60 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า หากมีเภสัชกรเข้าไปมีบทบาทในทีมสหวิชาชีพในการจัดการอาการปวดด้วยยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ อย่างต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วยในด้านความปวด คุณภาพชีวิต ความรู้ และความร่วมมือในการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วย และทีมบุคลากรทางการแพทย์มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาบทบาทของเภสัชกรมากขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5555
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThipsukonJaroenpan.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.