Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5544
Title: การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระเสียงเดี่ยว โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
DEVELOPING READABILITY, SPELLING WORDS COMPOUNDED WITH SINGLE VOWELS BY ORGANIZING ACTIVE LEARNING ACTIVITIES IN CONJUNCTION WITH READING EXERCISES, THE THAI VOWEL LEARNING SERIES FOR 1ST GRADE STUDENTS.
Authors: Rungtip Tipnet
รุ่งทิพย์ ทิพย์เนตร
Brapaas Pengpoom
ประภาษ เพ็งพุ่ม
Naresuan University
Brapaas Pengpoom
ประภาษ เพ็งพุ่ม
brapaasp@nu.ac.th
brapaasp@nu.ac.th
Keywords: การอ่าน; การจัดการเรียนรู้เชิงรุก; แบบฝึกการอ่าน
Reading; Active Learning; Reading exercises.
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this thesis were (1) to create and determine the effectiveness of reading exercises. Thai pool learning set according to 80/80 benchmark. (2) to compare students' ability to read and spell words compounded with single vowels. 1st grade before and after classes by organizing active learning activities In conjunction with the Thai vowel learning exercises. The research model is experimental the one group pretest posttest design. The sample group 11 students in 1st grade, Banyangsamton school, Phichit Province. Research Tools (1) learning activity plan Active Learning (2) Thai vowel learning exercises and (3) The test measures the ability to read and spell words compounded with single vowels. Analyze data percentage, mean. The results of the study were as follows: (1) Creating and finding the effectiveness of reading exercises in the Thai vowel learning series effective as 82.12/81.82 It has been shown that the creation and performance of the Thai vowel learning exercise is higher than the set threshold of 80/80. (2) The results compared the student's ability to read and spell words compounded with single vowels. 1st grade before and after classes by organizing active learning activities together with reading exercises in the Thai vowel learning series had a mean score before learning was 11.73 and a mean score after learning was 15.27. and when comparing between pre- and post-test scores, it was found that the students' post-test scores were significantly higher than before at .05.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทยตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระเสียงเดี่ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทย รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและสอบหลังเรียน (The one group pretest posttest design) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยางสามต้น จังหวัดพิจิตร จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) แบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทย และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระเสียงเดี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.12/81.82 แสดงให้เห็นว่าการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระเสียงเดี่ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกการอ่านชุดเรียนรู้สระไทยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.73 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.27 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5544
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RungtipTipnet.pdf7.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.