Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5525
Title: การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL READING ABILITY BY BACKWARD DESIGN WITH GPAS 5 STEPS FOR GRADE 9 STUDENTS
Authors: Tewarach Mangkala
เทวราช มังคะละ
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
Naresuan University
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
omthajitp@nu.ac.th
omthajitp@nu.ac.th
Keywords: การอ่านเชิงวิเคราะห์
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ
Analytical Reading Ability
Backward Design
GPAS 5 Steps
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were to 1) develop the lesson plan by Backward design with GPAS 5 Steps, 2) compare the analytical reading ability of students before and after learning, 3) study’ satisfaction on the Backward design with GPAS 5 Steps. The samples were 29 students from grade 9 class 1 students at Boryangwittaya School in Sawang Arom district, Uthai Thani province, on 2nd semester, academic year 2022. Research instruments consist of lesson plan, analytical reading ability test, satisfaction questionnaire of students. The Statistics for data analysis were the mean, standard deviation and t - test Dependent. The results were as follow 1) The lesson plan of analytical reading ability by Backward design with GPAS 5 Steps development was the highest level. (mean = 4.47, S.D. = 0.43) 2) The analytical reading ability after learning by Backward design with GPAS 5 Steps after studying was higher than before learning with statistical significance at the level of 0.05 and 3) The satisfaction of students on learning management by Backward design with GPAS 5 Steps was the highest level. (mean = 4.64, S.D. = 0.49)
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบ การเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง เชิงระบบ (GPAS 5 Steps) และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ่อยางวิทยา อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  t - test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบ การเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.47, S.D. = 0.43) 2) ผลการเปรียบเทียบ ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง เชิงระบบ (GPAS 5 Steps) อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.64, S.D. = 0.49)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5525
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TewarachMangkala.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.