Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5500
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Rontichai Sawat | en |
dc.contributor | รณธิชัย สวัสดิ์ | th |
dc.contributor.advisor | Krittayakan Topithak | en |
dc.contributor.advisor | กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-05-30T02:20:48Z | - |
dc.date.available | 2023-05-30T02:20:48Z | - |
dc.date.created | 2565 | en_US |
dc.date.issued | 2565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5500 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this study was 1) to develop factors and indicators for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces 2) to examine construct validity of the factors and the indicators for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces 3) to create and test the quality of the criteria for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces by Cultural Consensus Model and 4) to create and test quality of the manual for Educational internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces. The sample groups were categorized into 4 phases; phase 1 included seven experts selected by Purposive Sampling, phase 2 was a group of 432 school administrators and teachers, who responding in Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces, selected by Multi-stage Sampling, phase 3 was a group of thirty school administrators selected by Stratified Sampling and phase 4 was a volunteer for each school sizes as; big, medium, and small school. There are four types of material developed in this study included 1) a propriety assessment of factors and indicators for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces 2) a questionnaire for administrations in Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces 3) propriety testing of criteria in Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces and 4) assessment for manual for Educational internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border. The statistics were relevant to average, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), and Formal Cultural Consensus Model. The results of the study were demonstrated following: Firstly, the outcomes of examining factors and indicators of Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces, according to the synthesis of document and commented by experts, they were composed of 3 main factors with 11 indicators following; factor 1 learning management of multicultural society with 4 indicators, factor 2 school administration of multicultural society with 4 indicators, factor 3 students’ learning in multicultural society with 3 indicators. Secondly, the result of examination for construct validity of factors and indicators by Confirmatory Factor Analysis model shows that the model is inconsistent with empirical data in 3 components and all factors were positive (0.94 -0.97) and significant at the statistical level of .01. The 11 indicators were positive (0.40 - 0.50) and significant at the statistical level of .01. The results reveal that Confirmatory Factor Analysis model and indicators in Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society of the southern border provinces were correct in construct validity. Thirdly, according to the results of creating and testing quality of assessment criteria for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society in the southern border provinces by cultural consensus theory, the criteria was the holistic scoring for grading internal quality into 5 levels including excellent, very good, good, fair, and improved as well as the priority of criteria for Educational Internal Quality Assurance by cultural consensus theory was appropriated for all items. Finally, the qualification of manual assessment for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in multicultural society the southern border provinces was in the standard in three areas following: 1) the context and assessment activity, 2) roles and ethics of committee, and 3) principle, type, and formats of assessment. The result of qualification in term of propriety, accuracy, utility, and feasibility was in excellent level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อตรวจความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบ ตัวชี้วัด ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อสร้างและหาคุณภาพเกณฑ์การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรม และ 4) เพื่อสร้างและหาคุณภาพคู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาที่อยู่ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จำนวน 432 คน ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาจากทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และระยะที่ 4 กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามขนาดโรงเรียน 3 ขนาดได้แก่ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กซึ่งได้มาจากอาสาสมัครขนาดละ 1 โรงเรียน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แบบสอบถามการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) แบบวัดระดับความเหมาะสมในการตัดสินเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4) แบบประเมินคู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและการปรับแก้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 11 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม มี 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 การบริหารสถานศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม มี 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 การเรียนรู้ของผู้เรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม มี 3 ตัวชี้วัด 2) ผลการตรวจความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบ ตัวชี้วัด ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สร้างขึ้นโดยใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ น้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวกมีค่าระหว่าง 0.94 -0.97 และมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และน้ำหนักองค์ประกอบของตัวชี้วัด 11 ตัวมีค่าเป็นบวกมีค่าระหว่าง 0.40 - 0.50 และนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ทุกตัว แสดงให้เห็นว่าโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความตรงเชิงโครงสร้าง 3) ผลการสร้างและหาคุณภาพเกณฑ์การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรม พบว่า เกณฑ์มีลักษณะแบบองค์รวม (Holistic Score) ในการตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายในโดยใช้เกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง และผลการหาคุณภาพด้านความเหมาะสมของเกณฑ์การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมมีความเหมาะสมทุกข้อ และ 4) ผลการสร้างและหาคุณภาพคู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า คู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) บริบทและภารกิจการประเมิน 2) บทบาทหน้าที่และจรรยาบรรณ ของคณะกรรมการประเมิน และ 3) หลักการ รูปแบบ และแนวทางการประเมิน และผลการหาคุณภาพด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้ โดยทุกด้านอยู่ระดับมากที่สุด | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | การประกันคุณภาพ | th |
dc.subject | การวัดผล | th |
dc.subject | ตัวชี้วัด | th |
dc.subject | สังคมพหุวัฒนธรรม | th |
dc.subject | Quality assurance | en |
dc.subject | measurement | en |
dc.subject | indicators | en |
dc.subject | Multicultural Society | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Training for teachers of vocational subjects | en |
dc.title | การพัฒนาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ | th |
dc.title | The Development of Factors, Indicators and Criteria for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in Multicultural Society the Southern Border Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Krittayakan Topithak | en |
dc.contributor.coadvisor | กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | krittayakant@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | krittayakant@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Educational Administration and Development | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RontichaiSawat.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.