Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5499
Title: การพัฒนาแบบฝึกการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Togethet) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The development of skill exercises  Writing  Kaap in conjunction with the cooperative learning management technique LT (Learning Together) for Mathayomsuksa 4
Authors: Sujinda Nuankaew
สุจินดา นวนแก้ว
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
Naresuan University
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
omthajitp@nu.ac.th
omthajitp@nu.ac.th
Keywords: แบบฝึกทักษะ
ทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT
Skill exercises
Skill Writing kaap
Cooperative learning management technique LT
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The research purposes were the development of skill exercises Writing Kaap in conjunction with the cooperative learning management technique LT (Learning Together) for Mathayomsuksa 4 students. The research procedure comprised of research and development. There were 3 steps as follows: Step one: to create and evaluate the efficiency skill exercises  of  at the level 75/75. Proceed to create skill exercises   to evaluate their suitability by three experts and then activities were used with 3 students to check the language and time spent on skill exercises, after that they were used with 9 students and 30 students respectively to analyze the efficiency of them. The research instruments were assessment form for suitability of learning activities, evaluation form to quality of writing criterion kaap and writing skill test form kaap. The statistical data analyses were percentage, mean, S.D., Step two: to use skill exercises  with 25 students who were experimental samples. The statistical data analyses were mean, t-test dependent sample and t-test one sample. Step three: to evaluate student’s satisfaction who learned by skill exercises. The research instruments were assessment of students satisfaction form. The statistical data analyses were mean, S.D.   The results of the research were as follows: 1. Skill exercises   were suitability at the high level (x̅ = 4.33, S.D. = 0.34) and the result of efficiency equal 78.05/78.50 which met the criteria 75/75. 2. The results of using skill exercises found that the posttest was higher than the pretest at the statistical significance .05 and posttest was higher than the determined criterion of 75 percent at the statistical significance .05 3. The students had the satisfaction for skill exercises at highest level in total parts. (x̅ = 4.71, S.D. = 0.48)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะและนำไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของภาษา เวลาในทำแบบฝึกทักษะ ทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน และ 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมินความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และแบบวัดทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้แบบฝึกทักษะกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้  ในการวิเคราะห์ข้อมูล และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.  แบบฝึกทักษะมีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅ = 4.33, S.D. = 0.34) และผลการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 78.05/78.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75    2.  ผลการใช้แบบฝึกทักษะพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.71, S.D. = 0.48)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5499
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SujindaNuankaew.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.