Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5496
Title: รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง
LEARNING MODEL FOR CONTINUATION OF COMUNITY CERAMIC ENTREPRENEURS IN LAM PANG
Authors: Aukarat Tamuangmoon
อรรฆรัตน์ ตาเมืองมูล
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
Naresuan University
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
atcharas@nu.ac.th
atcharas@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการเรียนรู้
การสืบสานภูมิปัญญา
ผู้ประกอบการเซรามิค
Learning Style
Continuation of Wisdom
Ceramic Entrepreneur
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is qualitative research with the objectives: 1. to study the current state of the process of inheriting the wisdom of community ceramic entrepreneurs in Lampang Province; Community Ceramics, Lampang Province The research area was Sornram Muang Village, Village No. 9, Tha Pha Sub-district Municipality, Ko Kha District, Lampang Province. There were 13 informants by purposive selection. The research tools were interview questions and participatory observation. The results of the research were as follows: There is a concept of transferring wisdom. To pass on knowledge to descendants or future generations to earn income from a career in ceramic production. And maintain the uniqueness of Lampang Province 2) The recipient of the knowledge of ceramic wisdom It has been passed on to the pride of those who convey it to their children. It is the manner of passing on the pride of the person who conveys it to the next generation. 3) Objectives and things that convey knowledge of ceramic wisdom to carry on the intention of preserving the knowledge and wisdom of ceramics of the founder's ancestors or previous generations of entrepreneurs. 4) Knowledge transfer method ceramic wisdom Implement hands-on demonstration methods while working. So that the recipients can practice and memorize the steps and methods clearly and clearly. 5) The media was used to convey the knowledge of ceramic wisdom. use operations role model/role model It is a medium used to transmit knowledge. Because it will make the recipients of the transfer a firm and durable understanding. 6) Evaluation of knowledge of ceramic wisdom. to test the knowledge and understanding of the recipients of the transmission of wisdom that will lead to real practice in ceramic business in the future; and 7) further development for ceramic product development. as an added product Ceramics in various forms by combining traditional wisdom with modern wisdom such as kitchen utensils, sanitary ware, and construction equipment, etc. It can be said that the current condition of the process of inheriting the wisdom of community ceramic entrepreneurs in Lampang Province, who convey Knowledge will use the space in their own home as a ceramic production area. And at the same time, this area will be an area for transferring knowledge to the successor. By using methods of memorization, questioning, and training to do to achieve memorization. Those who will receive the knowledge and wisdom of ceramic making will only be passed on to family members. and the broadcaster is a family member The researcher therefore developed a learning model for the continuation of the wisdom of community ceramic entrepreneurs in Lampang Province. Lampang consists of 4 components as follows: Component 1: Concrete experience. It is an observation from the conveyer with concrete experience using the teacher's memory 1) verbal narrative 2) demonstration 3) actual practice. Component 2 Reflection from observation It is the recording of knowledge in various forms. from reflection on the observation that the successor of the knowledge uses various methods to save information in the notebook (Family tree book) Video recording demonstration of ceramic production Component 3: Creating an Abstract Concept in which successors create abstract concepts into concrete because of the transfer of knowledge of ceramic wisdom It is the delivery of the intention to maintain the knowledge of wisdom and the 4th component, experimental practice. that brings the knowledge gained from the broadcaster to come to practice and produce work which is inheriting the wisdom of ceramic production as well Under the dimension of learning transfer, namely: 1) Divergent Thinking that the successor has learned from concrete experience and reflections from observations and able to reflect until seeing the overall picture that can develop and create ceramic pieces by themselves; 2) absorbent learning The successor can summarize the principles or rules. It can be abstracted. 3) Singular thinking The successor has a unique characteristic consisting of the creation of abstract concepts. and practical experiments, and 4) improved thinking. Inheritors must learn by doing, like to experiment, and will work well in situations that require adaptation. Classified as students who are strong in actual practice. It is a process created to inherit the wisdom of community ceramic entrepreneurs in Lampang Province. This is especially useful for learning to inherit, inherit, maintain, extend, adapt, and develop ceramic entrepreneurs in Lampang Province to keep pace with the changes in the modern world. It contributes to bringing the knowledge of the past to develop together with the knowledge of the new world order. that must develop business operators to be aware of changes There is an increase in the capacity of being an entrepreneur in the digital age. under learning from experience with a learning model for the continuation of the wisdom of community ceramic entrepreneurs in Lampang Province (EWC Learning Model)
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง พื้นที่วิจัย คือ หมู่บ้านศรรามเมือง หมู่ที่ 9 เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 13 คน ได้มาจากการการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก  มีแนวคิดในการถ่ายทอดภูมิปัญญา เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังได้มีรายได้จากการประกอบอาชีพผลิตเซรามิก และคงความเป็นเอกลักษณะของจังหวัดลำปาง 2) ผู้รับการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก ได้รับการส่งต่อความภาคภูมิใจของผู้ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน  เป็นลักษณะการส่งต่อความภาคภูมิใจของผู้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป  โดยผ่านการบอกเล่าเรื่องประวัติความเป็นมา  3)  วัตถุประสงค์ และสิ่งที่ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก เพื่อสืบสานเจตนารมณ์การดำรงไว้ซึ่งความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก ของบรรพชนผู้ก่อตั้งหรือผู้ประกอบการรุ่นก่อน 4) วิธีการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก ใช้วิธีการสาธิตลงมือปฏิบัติจริงในขณะทำงาน เพื่อให้ผู้รับการถ่ายทอดได้ลงมือฝึกปฏิบัติและจดจำขั้นตอนวิธีการทำได้อย่างละเอียดชัดเจน 5) สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก ใช้การปฏิบัติงาน การเป็นแบบอย่าง/ต้นแบบ เป็นสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ เพราะจะทำให้ผู้รับการถ่ายทอดมีความเข้าใจฝั่งแน่นคงทน 6) การประเมินผลความรู้ภูมิปัญญาเซรามิกเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการประกอบธุรกิจเซรามิกในอนาคต และ 7) การต่อยอดเพื่อพัฒนาสินค้าเซรามิก เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ เซรามิกในรูปแบบต่าง ๆ โดยผสานภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมกับภูมิปัญญาสมัยใหม่  เช่น  ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัว  สุขภัณฑ์  และอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น  จึงกล่าวได้ว่า  สภาพปัจจุบันของกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิก ชุมชนจังหวัดลำปาง ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้จะใช้พื้นที่ในบ้านของตนเองเป็นพื้นที่การผลิตเซรามิก และในขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สืบทอด โดยใช้วิธีการจดจำ สอบถาม และฝึกให้ลงมือทำเพื่อให้เกิดการจดจำ ซึ่งผู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการทำเซรามิกจะถ่ายทอดเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น และผู้ถ่ายทอด คือ บุคคลในครอบครัว ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  ดังนี้  องค์ประกอบที่ 1 ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม เป็นการสังเกตจากผู้ถ่ายทอดด้วยประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมด้วยวิธีครูพักลักจำ 1) การบอกเล่าบรรยายด้วยวาจา 2) การสาธิต 3) การปฏิบัติจริง องค์ประกอบที่ 2 การสะท้อนคิดจากการสังเกต เป็นการบันทึกองค์ความรู้ไว้ในรูปแบบต่าง ๆ จากการสะท้อนคิดจากการสังเกต ที่ผู้สืบทอดองค์ความรู้ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในสมุดบันทึก (สมุดบันทึกต้นตระกูล) การบันทึกวิดีทัศน์สาธิตการผลิตเซรามิก องค์ประกอบที่ 3 การสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งผู้สืบทอดสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม เพราะการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเซรามิก เป็นการส่งมอบเจตนารมณ์การดำรงไว้ซึ่งความรู้ด้านภูมิปัญญา และองค์ประกอบที่ 4 การทดลองปฏิบัติ ที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้ถ่ายทอดมาสู่การทดลองปฏิบัติและผลิตชิ้นงาน ซึ่งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการผลิตเซรามิก ด้วย ภายใต้มิติการถ่ายทอดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การคิดแบบอเนกนัย ที่ผู้สืบทอดได้เรียนรู้จากประสบการณ์รูปธรรม  และการสะท้อนคิดจากการสังเกต  และสามารถไตร่ตรองจนมองเห็นภาพโดยส่วนรวมที่สามารถนำพัฒนาและสร้างชิ้นงานเซรามิกได้ด้วยตนเอง 2) การเรียนรู้แบบดูดซึม ซึ่งผู้สืบทอดสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้เป็นนามธรรมได้ชัดเจน  3) การคิดแบบเอกนัย ที่ผู้สืบทอดมีลักษณะเฉพาะ ประกอบด้วย การสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรม และการทดลองปฏิบัติ และ 4) การคิดแบบปรับปรุง โดยผู้สืบทอดต้องเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ชอบทดลอง และจะทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องใช้การปรับตัว จัดเป็นผู้เรียนที่มีความเข้มแข็งในการลงมือปฏิบัติจริง จึงเป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการเรียนรู้เพื่อสืบทอด สืบสาน รักษา ต่อยอด ปรับประยุกต์ พัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกจังหวัดลำปางให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำองค์ความรู้ในอดีตมาพัฒนาร่วมกับองค์ความรู้ของการจัดระเบียบโลกใหม่ ที่ต้องพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีสมรรถนะของการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้น ภายใต้การเรียนรู้จากประสบการณ์ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการสืบสานภูมิปัญญาของผู้ประกอบการเซรามิกชุมชนจังหวัดลำปาง (EWC Learning Model)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5496
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AukaratTamuangmoon.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.