Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5377
Title: การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
Creating Thai identity of The Thai displaced people, Ban Singkhon , Tanintharyi Territory of the Republic of the Union of Myanmar
Authors: Worapot Visedsiri
วรพจน์ วิเศษศิริ
Wasin Panyavuttrakul
วศิน ปัญญาวุธตระกูล
Naresuan University
Wasin Panyavuttrakul
วศิน ปัญญาวุธตระกูล
wasinp@nu.ac.th
wasinp@nu.ac.th
Keywords: คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร
มณฑลตะนาวศรี
การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์
Thai displaced people Ban Singkhon
Tanintharyi Territory
Creating Thai identity
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This thesis aims study the Creation of Thai Identity of the Displaced Thais in Ban Singkhon, Tanintharyi Region, Republic of the Union of Myanmar. The researcher has set the objectives of the study in 3 issues. The first one is to study the way of life of displaced Thai people in Ban Singkhon, Tanintharyi Province, Republic of the Union of Myanmar. The second purpose is to analyses the conditions of identity formation of the displaced Thai people in Ban Singkhon in the context of Myanmar society. The third one is to synthesize the process of creating the identity of the displaced Thai people in Ban Singkhon Republic of the Union of Myanmar. In this study,the qualitative research methods have been implemented. The boundaries of the study area were determined and field data were collected by means of interviewing, observation and experiential conversation techniques from a group of Thai people living at Ban Singkhon, Tanintharyi County, Republic of the Union of Myanmar. Including studying information from various documents and evidence, the data obtained were analyzed within the specified scope, summarized and reported the results by descriptive analysis. The results of the study revealed that the group of Thai people in Singkhon Village, Tanaosri Sub-district, Tanaosri District, Myeik Province, the Republic of the Union of Myanmar at present is crucial not only to be the area where Thai displaced people live but played important role being a joint history of Thailand and Myanmar since the area was originally formerly Tanaosri and Myeik, the chief location in maritime trade. Both cities had trade relations with ancient states in Southeast Asia since the founding of Ayutthaya Kingdom until the early Rattanakosin period. However, later in the year 1868, the border between Siam and Burma was demarcated from Mae Hong Son to Ranong by Siam and British rule in India and Burma. As a result, Thai people were displaced in the area of Singkhon Village. Tanintharyi City, Myeik Province, Tanintharyi Province, Republic of the Union of Myanmar until now. As for the issue of creating a Thai identity of the displaced Thai people in Ban Singkhon, it was found that the displaced Thai people in Ban Singkhon had modified and created their Thai identity since 1947, existed in 3 phases. Namely, the identity change of the displaced Thai people in Ban Singkhon after independence, the identity of the displaced Thai people in Ban Singkhon during the war situation of the Burmese military government against ethnic minorities until after the ceasefire negotiations between the ethnic minorities in Myanmar and the change in identity of the displaced Thai people after the emergence of the ASEAN Community. The creation of a Thai identity of the displaced Thai people in Ban Singkhon is a change in their own identity for survival in the area according to different situations and contexts, both in Thailand and Myanmar since the period after World War 2 onwards. After Myanmar gained independence from England. The displaced Thai people of Ban Singkhon have adapted for their own survival according to the policies of the Burmese government, especially education. The displaced Thai people of Ban Singkhon still maintain their traditional way of life, including the modern entertainment culture from Thailand, such as the popularity of luk thung songs. Later, there was a war situation of the Burmese military government with ethnic minorities, with intense fighting. As a result, the identity of the Thai people displaced at Ban Singkhon was to survive under severe circumstances, including the demand for Thai citizenship in every dimension from the Thai side. But after the violent situation calmed down The displaced Thai people of Ban Singkhon have changed their identity according to the opening of the ASEAN Community. The change in Thai identity during this period was not adjusted for bargaining or survival in the context of Myanmar alone and modify themselves to be interesting, especially telling the story of their own history, telling the history of Tanintharyi city in order to attract tourism from the Thai side to the area, including various agencies from the Thai side came to visit Resulting in income in the village as well as various assistance from the visiting agencies. However, the economic and tourism opportunities of the displaced Thai people in Ban Singkhon have been temporarily halted due to the outbreak of the COVID-19 epidemic.
การศึกษาเรื่อง การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ 3 ประเด็น คือ ศึกษาวิถีชีวิตของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา วิเคราะห์เงื่อนไขการก่อรูปอัตลักษณ์ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรในบริบทของสังคมเมียนมา และเพื่อสังเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนาแบบมีประสบการณ์ร่วมจากกลุ่มคนไทยที่อาศัย ณ บ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากเอกสารและหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตที่กำหนด สรุป และรายงานผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มคนไทยหมู่บ้านสิงขร ตำบลตะนาวศรี อำเภอตะนาวศรี จังหวัดมะริด ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในปัจจุบัน มีความสำคัญไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่ที่คนไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ แต่มีความสำคัญในเชิงการเป็นประวัติศาสตร์ร่วมกันของไทยและเมียนมา เนื่องจากเดิมพื้นที่ดังกล่าวนี้ เดิมเป็นเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดซึ่งมีความสำคัญต่อการค้าทางทะเลในอดีต โดยทั้งสองเมืองนี้มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัฐโบราณในแถบพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต่อมาช่วง พ.ศ. 2411 มีการปักปันเขตแดนสยาม-เมียนมาตั้งแต่บริเวณแม่ฮ่องสอนจนถึงระนอง โดยสยามและอังกฤษที่ปกครองในอินเดียและเมียนมา ส่งผลให้เกิดคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่หมู่บ้านสิงขร เมืองตะนาวศรี จังหวัดมะริด มณฑลตะนาวศรี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาจนมาถึงปัจจุบัน กลุ่มคนไทยบ้านสิงขรมีลักษณะประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่างๆ คลายคลึงกับกลุ่มวัฒนธรรมในภาคใต้ตอนบนของไทย ที่เรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมบางสะพาน”  กล่าวคือ การมีระบบเสียงภาษาไทยแบบท้องถิ่นรวมไปถึงการมีประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ค่อนข้างคล้ายคลึงกับกลุ่มคนในอำเภอบางสะพานและบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ของประเทศไทย ส่วนประเด็นการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรพบว่า กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรได้มีการปรับเปลี่ยนและสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของตนตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีอยู่ 3 ระยะ คือ ระยะการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรช่วงหลังได้รับเอกราช, การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรช่วงสถานการณ์สงครามของรัฐบาลทหารเมียนม่ากับชนกลุ่มน้อยจนถึงหลังเจรจาหยุดยิงของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรภายหลังการเกิดประชาคมอาเซียน การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรเป็นการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่มาโดนตลอดตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ ทั้งในไทยและเมียนมา ตั้งแต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา กล่าวคือ ช่วงหลังจากเมียนม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดต่อของตนเองตามนโยบายของรัฐบาลเมียนมาโดยเฉพาะการศึกษา แต่คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรก็ยังคงวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนอยู่ร่วมไปถึงวัฒนธรรมบันเทิงสมัยใหม่จากฝั่งไทยอย่างเช่นความนิยมในเพลงลูกทุ่ง แต่ต่อมาเกิดสถานการณ์สงครามของรัฐบาลทหารเมียนม่ากับชนกลุ่มน้อยมีการต่อสู้อย่างรุนแรง ส่งผลให้การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรเป็นไปเพื่อความอยู่รอดภายใต้สถานการณ์อย่างรุนแรงรวมไปถึงมีเรียกร้องความเป็นพลเมืองคนไทยในทุกมิติจากฝั่งไทย ภายหลังสถานการณ์ความรุนแรงสงบลง คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรได้ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตนตามการเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ความเป็นไทยในช่วงดังกล่าวนี้ไม่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นการต่อรองหรือความอยู่รอดในบริบทของเมียนมาอย่างเดียว แต่ปรับเปลี่ยนตนเองให้น่าสนใจ โดยเฉพาะการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของตนรวมไปถึงการเล่าประวัติศาสตร์เมืองตะนาวศรีเพื่อเป็นการดึงดูดการท่องเที่ยวจากฝั่งไทยให้เข้ามาในพื้นที่ รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ จากฝั่งไทยเข้ามาเยี่ยม ส่งผลให้เกิดรายได้ในหมู่บ้านรวมไปถึงความช่วยเหลือต่างๆ จากหน่วยงานที่เข้ามาเยี่ยมชม แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวอันเนื่องมาจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5377
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WorapotVisectsirl.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.