Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5376
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Treeyakarn Phromkham | en |
dc.contributor | ตรียากานต์ พรมคำ | th |
dc.contributor.advisor | Rudklaw Pampasit | en |
dc.contributor.advisor | รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-04-18T03:02:49Z | - |
dc.date.available | 2023-04-18T03:02:49Z | - |
dc.date.created | 2565 | en_US |
dc.date.issued | 2565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5376 | - |
dc.description.abstract | This qualitative research aims to study the community-based tourism management base on the collaborative management concept: A case study of Phu Hin Rong Kla National Park and Ban Rong Kla community, Nakhon Thai District, Phitsanulok Province had 3 objectives: 1) to study development of community-based tourism 2) to analyze collaborative management concept in the context of CBT. and 3) to propose guidelines for community-based tourism management base on the collaborative management concept. Forty-three key informants were selected by purposive sampling. They were divided into four groups as follows: 1) nine people in the community, 2) fifteen tourists, 3) seven committees of Ban Rong Kla community-based tourism, 4) six people from the government sector, and 5) six people from the private sector. Verify the information by triangulation method and analyze data by methods for analyzing content and events. The results of the research found that the tourism development of Ban Rong Kla community has the potential to Development Stage base on the tourism area life cycle concept of Richard W. Butler. It is well known of tourists and having a famous about Nang Phaya Sua Krong Tree. There are a lot of tourists visiting this place from December to February every year. This community has managed community-based tourism based on collaborative management concept in three dimensions; 1) The power sharing between Phu Hin Rong Kla National Park and the community; The park gives the power to issue regulations to the Ban Rong Kla Tourism Club committee to take advantage of the natural resources and culture of the community, 2) Responsibility sharing found that the community has participated with National Park to restore natural resources and culture in the community for sustainable use, and 3) Benefits sharing between parks with the community in the form of promoting the community to earn extra income from queuing for shuttle buses to Phu Lom Lo and bringing culture in the community to support community-based tourism activities together. In addition, Technology sharing is one of the important factors, it will help support tourism activities of Ban Rong Kla community to be raise the level of development to enter the next phase in the future and it is a new form of cooperation that arises under the implementation of activities, which support tourism between government agencies, the private sector, and the community. This research has suggestions as follows: 1) Community should implement and enforce rules and regulations relating to the proper use of natural resources in national park areas to encourage collaborative community-based tourism management. 2) Government, private sector, educational institutes, community, and tourists must be a shared responsibility for the conservation and restoration of natural and cultural resources in national park areas. Therefore, it can cause sustainable development. 3) Governments, private sectors, and community, whose have participated in community-based tourism management should have fair distribution of benefits to all groups in order to foster collaborative in organizing tourism activities to ensure continuity and sustainability. 4) The government should encourage communities to learn how to use digital technology for daily communication and promote the public relations of tourism activities in a wide area, and 5) Should encourage people in the main occupation area of the household by providing community-based tourism activities as a supplementary occupation to create occupational stability when there are external crisis situations such as the outbreak of the COVID-19 virus, causing tourism activities to be disrupted and households lacking tourism income. But they still have income from the agricultural sector for spending and living. This can help reduce the risks for the household sector. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดการจัดการแบบร่วมมือกัน กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าและชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการแบบร่วมมือกันในบริบทของการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดการจัดการแบบร่วมมือกัน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 43 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ 9 คน 2) กลุ่มนักท่องเที่ยว 15 คน 3) กลุ่มคณะกรรมการชมรมท่องเที่ยวบ้านร่องกล้า 7 คน 4) กลุ่มภาครัฐ 6 คน และ 5) กลุ่มภาคเอกชน 6 คน ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและเหตุการณ์ ผลการวิจัย พบว่า พัฒนาการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านร่องกล้าจัดอยู่ในระยะที่ 3 หรือ ระยะพัฒนา (Development Stage) ตามแนวคิดวงจรชีวิตพื้นที่ท่องเที่ยวของ Richard W. Butler เป็นระยะที่นักท่องเที่ยวรู้จักและได้ยินชื่อเสียงด้านความสวยงามของทุ่งนางพญาเสือโคร่ง โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวจำนวนมาก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบร่วมมือกันที่ครอบคลุม 3 มิติ คือ 1) การแบ่งสรรปันส่วนอำนาจระหว่างอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้ากับชุมชน โดยอุทยานฯ ให้อำนาจในการออกกฎระเบียบแก่คณะกรรมการชมรมท่องเที่ยวบ้านร่องกล้าเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน 2) การแบ่งสรรปันส่วนความรับผิดชอบ พบว่า ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับอุทยานฯ ในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีในชุมชนเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และ 3) การแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์ระหว่างอุทยานฯ กับชุมชนในลักษณะของการส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากการจัดคิวรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวขึ้นภูลมโลและการนำวัฒนธรรมในชุมชนมาสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า การแบ่งสรรปันส่วนเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านร่องกล้าให้สามารถยกระดับการพัฒนาในระยะต่อไปในอนาคตได้ รวมถึงเป็นความร่วมมือรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ คือ 1) ชุมชนควรดำเนินการและบังคับใช้กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบร่วมมือกัน 2) ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน และนักท่องเที่ยว ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จึงจะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน 3) ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนที่มีส่วนร่วมจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนควรมีการกระจายผลประโยชน์ต่อทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรมจึงจะทำให้เกิดความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน 4) ภาครัฐควรส่งเสริมให้ชุมชนได้รับเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมให้เกิดการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวในวงกว้าง และ 5) ควรส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพหลักของครัวเรือน โดยให้การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นอาชีพเสริม เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติจากภายนอก เช่น การเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงักครัวเรือนขาดรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ยังคงมีรายได้จากภาคการเกษตรสำหรับใช้จ่ายและดำรงชีพ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้กับภาคครัวเรือนได้ | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวโดยชุมชน | th |
dc.subject | บ้านร่องกล้า | th |
dc.subject | การจัดการแบบร่วมมือกัน | th |
dc.subject | Community-based tourism | en |
dc.subject | Ban Rong Kla | en |
dc.subject | Collaborative management concept | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | en |
dc.subject.classification | Sociology and cultural studies | en |
dc.title | การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดการจัดการแบบร่วมมือกัน กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าและชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก | th |
dc.title | COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT BASED ON THE COLLABORATIVE MANAGEMENT CONCEPT: A CASE STUDY OF PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK AND BAN RONG KLA COMMUNITY, NAKHON THAI DISTRICT, PHITSANULOK PROVINCE | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Rudklaw Pampasit | en |
dc.contributor.coadvisor | รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | rudklawp@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | rudklawp@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Sociology and Anthropology | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | th |
Appears in Collections: | คณะสังคมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TreeyakarnPhromkham.pdf | 5.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.