Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5366
Title: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Inquiry-based STEM Learning to enhance Mathematical Creative Thinking on Three-Dimensional geometric figures for Grade 6 Students
Authors: Pawanrat Thongluang
ปวันรัตน์ ทองหลวง
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
Naresuan University
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
thitiyab@nu.ac.th
thitiyab@nu.ac.th
Keywords: สืบเสาะหาความรู้
สะเต็มศึกษา
ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
Inquiry
STEM Education
Mathematical Creative Thinking
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study the learning approach through Inquiry-based STEM learning to enhance mathematical creative thinking on three-dimensional geometric figures topic, and to study the effects of using Inquiry-based STEM learning to enhance mathematical creative thinking on three-dimensional geometric figures topic. The participants were 18 sixth grade students in primary school in Uttaradit Province in the semester of 2021 academic years. The research methodology was action research comprising of 4 cycles and took totally 16 hours in this study. The research instruments included 4 lesson plans based on inquiry-based stem learning, reflective learning journals, activity worksheets, students’ artifacts and mathematical creative thinking test. Data were analyzed by content analysis and data creditability by triangulation method. The result indicated that. 1. The learning approach through Inquiry-based STEM learning that could enhance mathematical creative thinking on three-dimensional geometric figures for grade 6 students comprised of 5 steps including Engagement,  exploration, explanation, elaboration and evaluation. There are some issues that should be brought up: designing everyday situations using three-dimensional geometry knowledge. by combining knowledge and STEM education , providing students with relevant daily materials to inquire, giving students opportunities to search through media, and use searching technologies to gain knowledge. Throughout the activity, students' interest is stimulated by asking questions to prompt them to think of answers. When creating a student's work, there should be conditions for using the most cost-effective materials. 2. For mathematical creative thinking, the result showed that most students were able to develop creativity in creating creative ideas the best by 72.22 percent, followed by generating diverse ideas by 47.22 percent and evaluating and improving ideas respectively by 27.78 percent. Where students are able to write and create images, as well as creatively explain the elements and methods of designing a piece, however they are unable to find the answer in the worksheet completely and variety within the specified time, and the evaluation of the work still writes suggestions for improvement, which is insufficient.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 คน ของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ 4 วงจร โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 4 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม ชิ้นงานของนักเรียน และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ วิธีวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การออกแบบสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เชื่อมโยงกับความรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ โดยบูรณาการความรู้กับสะเต็มศึกษา การจัดเตรียมสื่อในชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนดำเนินการสำรวจและค้นหา และใช้เทคโนโลยีประกอบการสืบค้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้  มีการกระตุ้นความสนใจโดยการใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนคิดหาคำตอบตลอดการทำกิจกรรม การสร้างชิ้นงานของนักเรียนควรมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้วัสดุอุปกรณ์ให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด 2. ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาความสามารถตามองค์ประกอบพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านการสร้างแนวคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ดีที่สุดร้อยละ 72.22  รองลงมาคือ การสร้างแนวคิดอย่างหลากหลายร้อยละ 47.22 และการประเมินและปรับปรุงแนวคิดร้อยละ 27.78 ตามลำดับ ซึ่งนักเรียนสามารถเขียนและสร้างภาพตลอดจนอธิบายองค์ประกอบและวิธีการออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ แต่ในการหาคำตอบในใบกิจกรรมนักเรียนไม่สามารถตอบได้ครบถ้วนและหลากหลายภายในเวลาที่กำหนด และการประเมินชิ้นงานยังเขียนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงยังไม่ครบถ้วน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5366
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PawanratThongluang.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.