Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5357
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้มัธยมศึกษาปีที่ 6 The development of occupational learning activities based on social cognitive learning theory to enhance knowledge and motivation towards entrepreneurship for students in grade 12 |
Authors: | Supis Meesapman สุพิศ มีทรัพย์มั่น Jakkrit Jantakoon จักรกฤษณ์ จันทะคุณ Naresuan University Jakkrit Jantakoon จักรกฤษณ์ จันทะคุณ jakkritj@nu.ac.th jakkritj@nu.ac.th |
Keywords: | ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม กิจกรรมการเรียนรู้ ความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ Social Cognitive theory Learning Activities Knowledge and Entrepre neurship Motivation |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research is 1) To create and find the efficiency of occupational learning activities according to the cognitive-social learning theory. To enhance knowledge and motivation towards entrepreneurship for students in grade 12 2) To experiment occupational learning activities based on social cognitive learning theory to enhance knowledge and motivation towards entrepreneurship for grade 12 students, the researcher carried out the research process by using research and development. The sample group was students in grade 12/4, the second 2, Academic Year 2020, Thepsala Prachasan School. 35 students were obtained from a cluster random sampling using one classroom as a random unit. Scope of tools used in the research were occupational learning activities based on cognitive-social learning theory to enhance knowledge and motivation towards entrepreneurship for students in grade 12 , a test to measure knowledge of entrepreneurship, Entrepreneurial motivation questionnaire The statistics used in the data analysis were mean, standard deviation. and t-test dependent The results showed that hence the outcome result of this reseaech as follows
1. Occupational learning activities according to social cognitive learning theory to enhance motivation towards entrepreneurship for the 12 grade students created a cumulative efficiency was 76.22/80.52, as the 75/75 standard criterion.
2. Grade 12 students have a knowledge in enhance to become entrepreneurs according to social cognitive learning theory. After learned higher than before threshold with statistical significance at the .05 level
3. Grade 12 students have motivated to become entrepreneurs according to social cognitive learning theory at the high level. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยโดยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ จำนวน 35 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน ขอบเขตเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ แบบสอบถามวัดแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.22 / 80.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5357 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SupisMeesapman.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.