Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5345
Title: | การรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในบริเวณป้ายรถประจำทาง เขตเทศบาลนครพิษณุโลก The inhalation exposure of PM2.5 in the bus stops Phitsanulok municipality |
Authors: | KITTHITHUS MEANSIN กิตติธัช หมื่นสิน Pajaree Thongsanit ปาจรีย์ ทองสนิท Naresuan University Pajaree Thongsanit ปาจรีย์ ทองสนิท pajareet@nu.ac.th pajareet@nu.ac.th |
Keywords: | ขนาดฝุ่นละอองน้อยกว่า 2.5 ไมครอน การสัมผัสทางการหายใจ เทศบาลนครพิษณุโลก Particulate matter size less than 2.5 microns Inhalation exposure Phitsanulok municipality |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research was investigated on exposure to fine particulate matter up to 2.5 microns (PM2.5) at the bus stops of Phitsanulok municipality in 2021. The purpose of this study aims to investigate the concentration of PM2.5 and to assess the health risks of recipients from PM2.5 exposure in 3 bus stops such as Phitsanulok Municipal Market 6, Chalermkwansatree school and Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. PM2.5 was measured using PM2.5 air quality detector with PMS5003 sensor at each bus stops. The highest PM2.5 value was detected at 33.77 µg/m3 at Phitsanulok Municipal Market 6 with heavy trafficking and street cooking while the lowest value of PM2.5 was 22.50 µg/m3 at bus stop of Chalermkwansatree school because the school was changed to online teaching. It also found that each period of day and month provided largely difference of the concentration of PM2.5. In the pre-work period (07.00–09.00), the traffic is crowded and jammed because of rush hours with the highest value is 51.653 µg/m3, which exceed to PM2.5 air quality standard while the lowest value was 36.361 µg/m3 at work-break (11.00–13.00). Moreover, the lowest value in October was 22.028 µg/m3 while December was a month with a highest PM2.5 value at 51.653 µg/m3, which was higher than PM2.5 air quality standard. Furthermore, PM2.5 exposure was divided into 2 cases. The case of waiting for a bus had a range of 0.470x10-4 to 5.391x10-4 mg/kg-day while another case of a 10-hour working period had a range of 10.223x10-4 to 127.176x10-4 mg/kg-day. According to the HQ valuation, it was less than 1 at all bus stops. On the other hand, it was found that the case of a 10-hour working period is greater than 1, so it is indicated that the passengers who used the bus service at Phitsanulok municipality may be at risk from impacts of PM2.5 exposure, so bus passengers at Phitsanulok municipal bus stop service must be monitor, take care the health and prevent direct contact with dust and PM 2.5. งานวิจัยเรื่องการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปี 2564 บริเวณป้ายรถประจำทางที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 และประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สัมผัส PM2.5 ในป้ายรถประจำทาง 3 สถานี ได้แก่ ตลาดเทศบาลเมืองพิษณุโลก 6, โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยใช้เครื่องตรวจจับคุณภาพอากาศ PM2.5 ด้วยเครื่องวัดเซ็นเซอร์ PMS5003 ที่ถูกนำมาใช้ ผลการศึกษาพบว่าในแต่ละป้ายรถประจำทาง มีค่า PM2.5 มากที่สุด คือ 46.823 µg/m3 ณ ป้ายรถประจำทางตลาดเทศบาลเมืองพิษณุโลก 6 ที่มีการจราจรที่หนาแน่น ประกอบกับในตลาดเทศบาลเมืองพิษณุโลก 6 มีการประกอบอาหาร และมีค่าต่ำสุด คือป้ายรถประจำทางโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีคือ 30.094 µg/m3 โดยทางโรงเรียนมีการสอนแบบออนไลน์ อีกทั้งยังพบว่าในแต่ละช่วงเวลาของการรอรถประจำทาง และในแต่ละเดือนทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นสูงขึ้น โดยช่วงเวลาก่อนทำงาน (07.00–09.00 น.) จะมีปริมาณจราจรหนาแน่น และติดขัดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน จึงมีค่ามากสุดที่ 51.653 µg/m3 และมีค่าต่ำสุดที่ช่วงหลังเลิกงาน (11.00–13.00 น.) ที่ 36.361 µg/m3 ทั้งนี้ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ PM2.5 ในแต่ละช่วงเกินค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ที่ 50 µg/m3 ในช่วงก่อนทำงาน ส่วนเดือนธันวาคมมีค่ามากที่สุดคือ 51.653 µg/m3 และมีค่าต่ำสุดที่เดือนตุลาคมที่ 22.028 µg/m3 เกินค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ที่ 50 µg/m3 ในเดือนธันวาคม ปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 จะแบ่งเป็น 2 กรณี เป็นกรณีช่วงรอรถประจำทางโดยมีค่า เท่ากับ 0.470x10-4 ถึง 5.391x10-4 mg/kg-day และกรณีช่วงเวลาทำงาน 10 ชั่วโมง โดยมีค่าเท่ากับ 10.223x10-4 ถึง 127.176x10-4 mg/kg-day จากการประเมินค่าการประเมินความเสี่ยง (Hazard Quotient; HQ) พบว่ากรณีช่วงรอรถประจำทางโดย มีค่าน้อยกว่า 1 แต่ในทางตรงกันข้าม พบว่ากรณีช่วงเวลาทำงาน 10 ชั่วโมง มีค่ามากกว่า 1 จึงบอกได้ว่าผู้ที่ใช้บริการในแต่ละป้ายรถประจำทาง เขตเทศบาลพิษณุโลก อาจได้รับความเสี่ยงจากการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ผู้ใช้บริการป้ายรถประจำเขตเทศบาลพิษณุโลกจึงต้องมีการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และป้องการการสัมผัสฝุ่นโดยตรง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5345 |
Appears in Collections: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KitthithusMeansin.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.