Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5292
Title: ส่วนประสมทางการตลาดบริการและพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณในจังหวัดพิษณุโลก
Service marketing mix, and Service selection behavior ofgold jewelry shops in Phitsanulok Province.
Authors: Niorn Nakmoo
นิอร นาคหมู
Pudtan Phanthunane
พุดตาน พันธุเณร
Naresuan University
Pudtan Phanthunane
พุดตาน พันธุเณร
pudtanp@nu.ac.th
pudtanp@nu.ac.th
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาดบริการ
พฤติกรรมการเลือกใช้บริการ
ร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณ
Service marketing mix
Service selection behavior
Gold shop
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this study were to 1) study consumer behavior, the service marketing mix factors and decisions to use gold shops  2) compare demographic factors and decisions to use the services of gold shops. 3) study the marketing mix factors that influence the decision to use the services of gold shops in Phitsanulok Province. The sample size of the current study was 385 persons. Most of the respondents were female, aged 31-40 years, single, and had the highest education at bachelor degree level. They mostly worked in private companies and had incomes between 20,001-30,000 baht. The main purpose of purchasing gold was to accumulate an asset. The respondents were likely to buy necklaces. They mostly bought gold for the occasion of receiving bonuses or extra money at the regular stores and had no specific time when buying.       It was found that gender and age affected the decisions of purchasers to use gold shops. As well, the different service marketing mix factors affecting the decision to use gold shops were the people factor, which was considered as the most important factor, followed by the product and physical evidence factors. 
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการทองคำรูปพรรณ 2) ศึกษาเปรียบเทียบของปัจจัยด้านประชากรกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณ โดยเป็นการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 385 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31-40 ปี สถานภาพโสด การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี  อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อทองคำเพื่อสะสมเป็นสินทรัพย์ โดยลักษณะของทองรูปพรรณที่ซื้อส่วนมากคือ สร้อยคอ ส่วนใหญ่ซื้อในโอกาสได้รับโบนัสหรือเงินพิเศษ ซื้อที่ร้านประจำ และไม่มีช่วงเวลาในการซื้อ ผลการทดสอบ สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณในจังหวัดพิษณุโลก พบว่าเพศและอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจแตกต่างกัน และสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณในจังหวัดพิษณุโลก พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายทองคำรูปพรรณในจังหวัดพิษณุโลกที่มีผลอันดับแรก ได้แก่ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยรองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5292
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NiornNakmoo.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.