Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5291
Title: การสื่อสารเพื่อการปรับตัวของนักฟุตบอลต่างชาติในสโมสรฟุตบอลไทยลีก : กรณีศึกษาจอห์น บาจโจ้
THE ADAPTATION COMMUNICATION OF FOREIGN FOOTBALL PLAYER IN THAI LEAGUE : A CASE STUDY OF JOHN BAGGIO 
Authors: VASAN VANGSUK
วสันต์ วังสุข
Tikamporn Eiamrerai
ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร
Naresuan University
Tikamporn Eiamrerai
ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร
tikamporne@nu.ac.th
tikamporne@nu.ac.th
Keywords: การสื่อสารเพื่อการปรับตัว
การสื่อสาระหว่างวัฒนธรรม
นักฟุตบอลต่างชาติ
ฟุตบอล
Adaptation Communication
Intercultural Communication
Foreign Football Player
Football
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research is to study the adaptation communication patterns to Thai society of John Baggio as a professional footballer in a Thai league football club. It is qualitative research using participant observation coupled with in-depth interviews. The researchers selected the key informants using purposive sampling and snowball sampling, which were divided into two parts: 1) John Baggio, the case study in this research, and  2) 5 people who are close to John Baggio includes teammates, coaching staff, and club staff. In this study, the researcher divided the study areas into 3 areas: 1) the football field area, which is the working area, 2) the area beside the football field, which is the area for daily life other than working in the public space and 3) the area outside the football field, which is the area of daily living within the accommodation with privacy. The results of this research revealed that John Baggio had a communication pattern that helped him adapt to Thai society in a variety of contexts, media, and methods. John Baggio has adapted as a “Bicultural Identity”, meaning preserving his old cultural identity while at the same time adopting a new Thai culture. The results of research in 3 areas found that : The football field area is a working or playing area of football. John Baggio has a friendly, outgoing, and fun personality. Thus making it easy to adapt to teammates and get into the group of Thai football players. This is an area to learn both Thai and English from talking with teammates. And these two languages are the primary language used for communication between club members. In the area beside the football field, John Baggio has activities other than playing football with the “acquaintance network” from the football field area. This is a space to discuss various topics together that allows learning the Thai language along with receiving various news that can be applied in daily life from conversations. In addition, John Baggio also learns about Thai culture through participation in Thai traditions or culture. In the area outside the football field, John Baggio has “host media exposure” which is an area to practice the Thai language and follow the news that is happening in Thailand to use the information to adjust to the situation in Thailand. The fact that John Baggio has been able to play for seven years in a Thai League football club reflects that John Baggio has an “openness” personality for learning things like language, way of life, Thai culture in order to be able to adapt to the "host" who is Thai and Thai society.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อการปรับตัวเข้ากับสังคมไทยของจอห์น บาจโจ้ ในการเป็นนักฟุตบอลอาชีพในสโมสรฟุตบอลไทยลีก โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) จอห์น บาจโจ้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาในการวิจัยในครั้งนี้ และ 2) ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับจอห์น บาจโจ้ จำนวน 5 คน ได้แก่ นักฟุตบอลร่วมสโมสร, ทีมงานผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ภายในสโมสร สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งพื้นที่ในการศึกษาไว้ 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่ในสนาม ซึ่งเป็นพื้นที่การทำงาน, 2) พื้นที่ข้างสนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินชีวิตประจำวันนอกเหนือจากการทำงานในพื้นที่สาธารณะ และ 3) พื้นที่นอกสนาม ซึ่งเป็นพื้นที่การใช้ชีวิตประจำวันภายในที่พัก ที่มีความเป็นส่วนตัว ผลการวิจัยพบว่า จอห์น บาจโจ้ มีรูปแบบการสื่อสารที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวเข้ากับสังคมไทยในหลากหลายบริบท, สื่อ และวิธีการ โดยจอห์น บาจโจ้ มีการปรับตัวในลักษณะ “Bicultural Identity” กล่าวคือ รักษาอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเก่าของตนเองไว้ และในขณะเดียวกันก็ปรับรับเอาวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นวัฒนธรรมไทยด้วย โดยการปรับตัวในแต่ละพื้นที่ที่ได้ศึกษานั้นมีรายละเอียดดังนี้ พื้นที่ในสนามซึ่งเป็นพื้นที่การทำงานหรือการเล่นฟุตบอล จอห์น บาจโจ้ มีบุคลิกที่เป็นกันเอง เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และเป็นคนสนุกสนาน จึงทำให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมทีมได้ง่าย และได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนนักฟุตบอลชาวไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการพูดคุยกับเพื่อนนักฟุตบอล โดยทั้ง 2 ภาษานี้เป็นภาษาหลักที่ใช้สื่อสารระหว่างสมาชิกในสโมสร พื้นที่ข้างสนาม จอห์น บาจโจ้ มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการเล่นฟุตบอลร่วมกับ “เครือข่ายคนรู้จัก” ที่มาจากพื้นที่ในสนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ในการสนทนาเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน ที่ทำให้ได้เรียนรู้ภาษาไทยพร้อมกับมีการได้รับข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันจากการสนทนากัน นอกจากนี้จอห์น บาจโจ้ ยังมีการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านการมีส่วนร่วมในประเพณีหรือวัฒนธรรมไทยอีกด้วย พื้นที่นอกสนาม จอห์น บาจโจ้ มีการ “เปิดรับสื่อมวลชนเจ้าบ้าน” ซึ่งเป็นพื้นที่ในการฝึกภาษาไทยและติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศไทย ทั้งนี้ การที่จอห์น บาจโจ้ สามารถเล่นฟุตบอลในสโมสรฟุตบอลในไทยลีกได้อย่างยาวนานถึง 7 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าจอห์น บาจโจ้ มีบุคลิกแบบ “เปิดรับ” ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทย เพื่อที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับ “เจ้าบ้าน” ที่เป็นคนไทย และสังคมไทยได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5291
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VasanVangsuk.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.