Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5285
Title: การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแบ่งปันสำหรับผู้ประกอบการสารสนเทศ : กรณีศึกษาธุรกิจรับตรวจสอบรายการบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ
Developing Digital Sharing Economy Business Platform for Information Entrepreneurs: A Case Study of Bibliography Peer-review Services
Authors: CHOKTHUMRONG CHONGCHORHOR
โชคธำรงค์ จงจอหอ
Wasin Liampreecha
วศิน เหลี่ยมปรีชา
Naresuan University
Wasin Liampreecha
วศิน เหลี่ยมปรีชา
wasinl@nu.ac.th
wasinl@nu.ac.th
Keywords: เศรษฐกิจแบ่งปัน
แพลตฟอร์มดิจิทัล
บรรณานุกรม
digital platform
sharing economy
Bibliography
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aims to develop a digital sharing economy business platform for Information Entrepreneurs: A Case Study of Bibliography Peer-review Services. The researcher uses a design technique. The study's findings established this. The study's findings in phase 1 classify into four categories: 1) Product—the business of bibliographic verification and academic reference services into search help services and educational reference services. Additionally, many companies assist in verifying literary references because of a perceived service weakness, 2) price determines by the service's cost to the urgency of the work requested by the clients with a different price for workpieces must send immediately, and 3) place discovers using digital platforms to contact clients is novel in the library sector. Since it may connect to the service provider through an innovative mobile phone application, and (4) Promotion determines the bibliography examination service company and academic reference materials are social. As a result, plans should tailor to the business environment. With an emphasis on assisting professional librarians and library science students in need of additional revenue.  Phase 2 of the study included product and service scope. The researcher creates a prototype digital platform named "ANG-ING" to express the service business's personality and facilitate the identification and study of academic references. Using a color palette, graphics, and fonts enhances the user's experience and appearance. As well as collaborative work with students and alumni, librarians can conform to the sharing economy philosophy. On average (= 3.68), thirty customers of digital platforms showed a high level of satisfaction. Phase 3 of the research included an evaluation of digital platforms for the sharing economy in the bibliographical and academic reference services industry, which indicated that experts' viewpoints on digital platforms for the sharing economy obtained an Index of Conformity (IOC). This research suggests that the digital platform may use to develop a shared economy for bibliographic and academic reference evaluation.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแบ่งปันสำหรับผู้ประกอบการสารสนเทศ : กรณีศึกษาธุรกิจรับตรวจสอบรายการบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยการออกแบบ  ผลการศึกษาพบว่า           (1) การศึกษาความต้องการผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจบริการตรวจสอบบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ  พบว่า ผลการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ด้านรูปแบบบริการ จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับธุรกิจบริการตรวจสอบบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการควรแบ่งรูปแบบการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ บริการช่วยสืบค้นข้อมูล และบริการช่วยตรวจสอบการอ้างอิงทางวิชาการ เนื่องจากเป็นจุดอ่อนของบริการที่ลูกค้ารู้สึกได้ ) (2) ด้านราคา  จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า การคิดราคาของบริการควรผูกโยงกับความเร่งด่วนในชิ้นงานที่ลูกค้าต้องการ โดยกำหนดราคาให้แตกต่างกันชัดเจน สำหรับชิ้นงานที่ต้องการให้ได้รับอย่างเร่งด่วน และชิ้นงานที่กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามปกติ (3) ด้านช่องทางการให้บริการ  จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในวงการห้องสมุด เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการได้ทันทีผ่านแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ (4) ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ธุรกิจบริการตรวจสอบบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการมีความเป็นการประกอบการเพื่อสังคม จึงควรเลือกใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือบรรณารักษ์วิชาชีพหรือนักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ที่ต้องการรายได้เสริม           (2) การวิจัยขอบเขตของผลิตภัณฑ์และบริการ ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลโดยใช้ชื่อว่า “อ้างอิง (ANG-ING)” เพื่อสะท้อนถึงลักษณะของธุรกิจบริการช่วยค้นหาและตรวจสอบเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งได้กำหนดชุดสี ภาพกราฟฟิกและรูปแบบตัวอักษรเพื่อให้ผู้ใช้มองแล้วรู้สึกสบายตา ตลอดจนออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปันในกลุ่มนักศึกษาและศิษย์เก่าบรรณารักษ์ ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 30 คน มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับมาก (= 3.68)           (3) การประเมินแพลตฟอร์มดิจิทัล พบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแบ่งปันในธุรกิจบริการตรวจสอบบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.73 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลสามารถในไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจแบ่งปันในธุรกิจบริการตรวจสอบบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5285
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChokthumrongChongchorhor.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.