Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5273
Title: | การเปิดเผยตัวตนผ่านการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของกลุ่มชายรักชายในพื้นที่ทวิตเตอร์ The Self-disclosure through the online communication intimacy interaction of Men who use the internet to find relationships with other men (MIRM) on Twitter. |
Authors: | BENJARONG TIRAPALIKA เบญจรงค์ ถิระผลิกะ Orawan Sirisawat apichayakul อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล Naresuan University Orawan Sirisawat apichayakul อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล orawana@nu.ac.th orawana@nu.ac.th |
Keywords: | การสื่อสาร ทวิตเตอร์ ชายรักชาย การสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด Communication MSM Intimate relationship |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This thesis is qualitative research that the pursuit of knowledge using a Netnography method with two objectives (1) To investigate the key attributes of Twitter for building intimate relationships among MSM users, and (2) To investigate the content and media usage of Twitter among MSM users to develop intimate relationships. According to the study, Twitter has ‘3A Attributes’ that are important in forming intimate relationships among MSM users: 1) A – ‘Authorship’, Next A – ‘Approachable’, and A – ‘Anonymity’. On the issue of the content of the communication for building an intimate relationship, it was discovered that talks frequently began with the word “Dee krup” and sending of ‘stickers’ followed by questions about sexual orientation or sexual tastes such as ‘Top’ or ‘Bottom’, as well as the sending of ‘Naked pictures' to each other for communication. The final section, "The communication model to create an intimate relationship with MSM users on Twitter", can be characterized as the '4S model', which consists of four steps. The first step is ‘The Stage of Self-Creation’, next ‘The Stage of Self-Presentation’, Then ‘The Stage of Self-Exposure’ consists of 2 hidden objectives: 1) To establish an emotional intimacy relationship and 2) To establish a psychological intimacy relationship, and the final stage is ‘The Stage of Self-Determination’ for Choosing whether to continue or end a relationship. Furthermore, after holding a position as either an ‘insider’, It was discovered that each step took only a few moments and the communication process can be adjusted according to satisfaction. This section is therefore an extension of the traditional concept of an intimate relationship. Every relationship takes a long time to open up to each other before it reaches an intimate level. It was also discovered that, in addition to sexual activity, “building a connection” between each other for the benefits of offline life was also discovered. The Twitter section also serves as a showcase for a variety of sexual orientations. This argument convinced me that, in the not-too-distant future, the diversity of sexual orientations will allow the greater society to comprehend and evolve to achieve equality. As many civilized countries have done, "Because of their sexual orientation diversity, in the past, homosexuals have been classified as mentally ill, sinners, lunatics, and they are usually not acknowledged as human beings in a community or civilization. However, according to the conclusions of this study found, humanity is measured by accepting diversity in terms of race, physical appearance, and sexual orientation." วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัลในการแสวงหาความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์สองประการ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของสื่อทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้สื่อที่เป็นชายรักชายสำหรับการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด และ (2) เพื่อศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการใช้สื่อทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้สื่อที่เป็นชายรักชายเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด ผลการศึกษาพบว่า มี องค์ประกอบ 3 ประการด้วยกัน หรือ (3A Attributes) ที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของทวิตเตอร์ในการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มชายรักชาย ประกอบไปด้วย A1) การสร้างตัวตนในแบบของตัวเอง A2) เข้าถึงได้ง่าย และ A3) ความนิรนาม ในประเด็นเนื้อหาในการสื่อสารเพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด พบว่า การสนทนามักเริ่มต้นด้วยคำว่า “ดีคับ” ร่วมกับการส่ง “สติ๊กเกอร์” หลังจากนั้นก็เริ่มมีการสอบถามเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ อาทิ 'รุก' หรือ 'รับ' ร่วมกับการส่ง 'ภาพเครื่องเพศ' ให้กันและกันเพื่อประกอบการสื่อสาร และส่วนสุดท้ายคือ รูปแบบในการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของชายรักชายผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถสรุปได้เป็น “4S model” ที่ประกอบไปด้วย 1) ขั้นสร้างตัวตน 2) ขั้นนำเสนอตัวตน 3) ขั้นเปิดเผยตัวตน ซึ่งประกอบไปด้วย 2 วัตถุประสงค์ที่ซ้อนอยู่คือ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดทางอารมณ์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดทางจิตใจ และขั้นตอนสุดท้ายคือ 4) ขั้นพิจารณาถักทอหรือตัดขาดความสัมพันธ์ ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากการฝังตัวพบว่า ทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีการใช้เวลาที่ยาวนานและสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการสื่อสารได้ตามความพึงพอใจ ส่วนนี้เองจึงเป็นส่วนต่อขยายจากแนวคิดการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดแบบดั้งเดิมที่เชื่อว่า ทุกความสัมพันธ์ก่อนถึงขั้นความใกล้ชิดจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลานานก่อนการเปิดใจให้กัน รวมทั้งยังพบว่า นอกเหนือจากกิจกรรมทางเพศแล้วยังพบอีกว่ามี “การสร้างคอนเนคชั่น” ระหว่างกันเพื่อประโยชน์ในชีวิตออฟไลน์ อีกทั้งพื้นที่ทวิตเตอร์ยังเป็นพื้นที่แห่งการนำเสนอรสนิยมทางเพศที่หลากหลายที่ไม่ใช่แค่รุกหรือรับเท่านั้น ประเด็นนี้เองทำให้เชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้ รสนิยมทางเพศที่หลากหลายจะทำให้สังคมในภาพใหญ่เข้าใจและถูกพัฒนาให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมได้ว่า ‘จากข้อสรุปของการศึกษานี้พบว่า ความเป็นมนุษย์วัดจากการยอมรับความหลากหลายในแง่ของเชื้อชาติ ลักษณะทางกายภาพ และรสนิยมทางเพศ ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่พบว่า กลุ่มรักร่วมเพศจึงถูกจัดว่าป่วยทางจิต คนบาป คนบ้า และยิ่งไปกว่านั้นมักไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ในชุมชนหรือในอารยธรรม’ ดังที่ในนานาอารยประเทศได้กระทำผ่านมาแล้ว |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5273 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BenjarongTirapalika.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.