Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTippatoo Kitsuntornen
dc.contributorทิพย์พธู กฤษสุนทรth
dc.contributor.advisorTikamporn Eiamreraien
dc.contributor.advisorทิฆัมพร เอี่ยมเรไรth
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2023-04-18T02:53:16Z-
dc.date.available2023-04-18T02:53:16Z-
dc.date.created2565en_US
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5272-
dc.description.abstractThis study aims to examine power and analyze factors influencing an existence and change of power among Lanna women in ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya), as well as the relationship of Lanna women power that flowed between special communication space of a ritual world and a secular world, from the past to present. It also analyzes Lanna women’s communication for empowerment in ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya) of the present era. The study adopts the concept of folk ritual media analysis and power of ritual media, theory of critical feminism and gender in Southeast Asia, communication for empowerment concept, P. Bourdieu’s structure vs agency/practice concept, habitus concept, field concept, and capital concept. It employs qualitative research by collecting data from recorded documents, field observations, and in-depth interviews. The data is analyzed using a historical approach and a cross-sectional study. The results show that Lanna women’s power in ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya) can be divided into 3 eras: Matriarchal era (before 1984 BE), Changing status and creation of identity era (1984-2539 BE), and Contesting space era (2540-2564 BE). The transition of the 3 eras was a result of power production and reproduction processes among women in each era. This relates to the social structure that progressively changed. When the crucible of habitus changed, the practice of an agency women was created and changed as well. For the relationship of Lanna women’s power that flowed between special communication space of a ritual world and a secular world (in a household, a community, and outside a community), women in the Matriarchal era used a subrogation of Phi Pu Ya’s coverage ascribed sacred power to develop righteousness for a leadership role in a kin economy and a leadership role in performing a given ritual of their family. In the Changing status and creation of identity era, the presence of Buddhism, central government policy, and currency capitalism caused the power of ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya) to be inconsistent with responsibilities faced from outside a community. This affected women to dismantle Phi Pu Ya’s power form and transform it with an economy power. In the Contesting space era, women used an infiltration from social status in the various communication space through Lanna women’s knowledge that was influenced by the factors of shrinking ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya), the entrance of LGBT in the ritual spaces, globalization, and the society of risk. Women’s power in each era shows a vital role of social practice that connected to social structure, under the rules of traditional and new habitus, the creation and accumulation of old and new capital (from cultural capital, social capital, and economic capital to symbolic capital) for forming soft power. Without power, women could not act on their missions that had been given continuously. For Lanna women’s communication for empowerment in ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya) in the present era, it is the communicating practice (S-M-C-R-E) that contains a sender (i.e., women transforming from a person with limited power to an agency through opportunity structure building) acts on communication activities to strengthening power (message), space and communication levels (channel), to a receiver. The effects are types of power that women adopt for communication, such as power over, power to, power with, and power within. Lanna women’s power in ritual media to worship ancestral spirits (Phi Pu Ya) in each era reveals that the process of soft power in transforming and hiding through Lanna people’s habitus and social practice drive women to retain the communication space that they once owned. This explains “Why some of Lanna women are still keen on inheriting this media”.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้หญิงล้านนาในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจผู้หญิงล้านนาที่ลื่นไหลไปมาระหว่างพื้นที่การสื่อสารพิเศษในโลกพิธีกรรมกับโลกความเป็นจริง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งวิเคราะห์การสื่อสารของผู้หญิงล้านนาเพื่อเสริมสร้างอำนาจในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ยุคปัจจุบัน ตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์สื่อพิธีกรรมพื้นบ้านและอำนาจที่เกิดจากตัวสื่อ ทฤษฎีสตรีนิยมเชิงวิพากษ์กับเพศสภาวะในอุษาคเนย์ แนวคิดการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างอำนาจ แนวคิดโครงสร้างสังคม vs ผู้กระทำและการปฏิบัติการ แนวคิด habitus แนวคิด field และแนวคิดทุน ของ P. Bourdieu โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารบันทึก การสังเกตการณ์ภาคสนาม การสัมภาษณ์เจาะลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ผลการวิจัยพบว่า อำนาจของผู้หญิงล้านนาในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค อันได้แก่ ยุคผู้หญิงเป็นใหญ่ (ก่อนปี พ.ศ. 1984) ยุคผู้หญิงเปลี่ยนแปลงสถานะและตัวตนแบบใหม่ (พ.ศ. 1984-2539) และยุคผู้หญิงเข้าไปในพื้นที่สนามประลองและแข่งขัน (พ.ศ. 2540-2564) โดยการเปลี่ยนผ่านของทั้ง 3 ยุคเป็นผลสืบเนื่องจากกระบวนการผลิตและผลิตซ้ำอำนาจของผู้หญิงในแต่ละยุค ซึ่งสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม (structure) ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเบ้าหลอมของ habitus เปลี่ยน การปฏิบัติการของผู้หญิงที่เป็นผู้กระทำการ (agency) ก็สร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนเช่นกัน สำหรับความสัมพันธ์ของอำนาจผู้หญิงล้านนาที่ลื่นไหลไปมาระหว่างพื้นที่การสื่อสารพิเศษในโลกพิธีกรรมกับโลกความเป็นจริง ทั้งในครัวเรือน ภายในชุมชน และภายนอกชุมชน โดยยุคผู้หญิงเป็นใหญ่ ผู้หญิงใช้การสวมรอยอำนาจจากความคุ้มครองของผีปู่ย่าเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับบทบาทการเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจแบบเครือญาติและบทบาทผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของสายตระกูลที่ตนเองได้รับ ต่อมายุคผู้หญิงเปลี่ยนแปลงสถานะและตัวตนแบบใหม่ การเข้ามาของพุทธศาสนา นโยบายภาครัฐส่วนกลาง และระบบทุนนิยมเงินตราส่งผลให้อำนาจจากตัวสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบที่ต้องเผชิญจากภายนอกชุมชน ทำให้ผู้หญิงใช้การถอดรูปอำนาจของผีปู่ย่าและการแปลงร่างใหม่ด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจ จนเมื่อถึงยุคผู้หญิงเข้าไปในพื้นที่สนามประลองและแข่งขัน ผู้หญิงใช้การแตกตัวตนจากสถานะทางสังคมในพื้นที่การสื่อสารอันหลากหลาย ผ่านความรู้ในแบบฉบับของผู้หญิง ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยตัวสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ที่หดตัวลง การเข้ามาของเพศที่สามในพื้นที่พิธีกรรม กระแสโลกาภิวัตน์ และสังคมแห่งความเสี่ยง ซึ่งอำนาจของผู้หญิงในแต่ละยุคเป็นการแสดงบทบาทสำคัญของปฏิบัติการทางสังคมที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างสังคมภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรียกว่า habitus ดั้งเดิมและสร้างใหม่ พร้อมไปกับการสร้างและการสั่งสมทุนเก่าและใหม่ ตั้งแต่ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจให้กลับกลายเป็นทุนทางสัญลักษณ์เพื่อก่อให้เกิดอำนาจเชิงวัฒนธรรมในที่สุด หากผู้หญิงไม่มีอำนาจแล้วนั้น ย่อมไม่สามารถกระทำการตามพันธกิจที่พึงได้รับมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนการสื่อสารของผู้หญิงล้านนาเพื่อเสริมสร้างอำนาจในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ในยุคปัจจุบันเป็นปฏิบัติการทางการสื่อสาร (S-M-C-R-E) ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร (sender) คือ ผู้หญิงที่ปรับเปลี่ยนจากบุคคลผู้มีอำนาจน้อยให้กลายเป็นผู้กระทำการ (agency) ด้วยการสร้างโครงสร้างแห่งโอกาส (opportunity structure) ผ่านกิจกรรมการสื่อสารเพื่อเสริมพลัง (message) พื้นที่และระดับการสื่อสาร (channel) ไปสู่ผู้รับสาร (receiver) และผลที่เกิดขึ้น (effect) ก็คือประเภทของอำนาจที่ผู้หญิงใช้ทำการสื่อสาร อันได้แก่ อำนาจเหนือ (power over) อำนาจที่มีต่อ (power to) อำนาจร่วม (power with) และอำนาจภายในที่เกิดจากตัวปัจเจกบุคคล (power within) อำนาจของผู้หญิงล้านนาในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) แต่ละยุคสมัย ทำให้เห็นกระบวนการทำงานของ soft power ที่สามารถแปลงกายและซุกซ่อนอยู่ในทุกอณูผ่าน habitus ของผู้คนล้านนาและปฏิบัติการทางสังคม ก็ทำให้ผู้หญิงสามารถยังคงยืนหยัดรักษาพื้นที่การสื่อสารแห่งนี้ที่เคยครอบครองมาก่อน ซึ่งเป็นการเน้นย้ำเพื่ออธิบายว่า “ทำไม ผู้หญิงล้านนาส่วนหนึ่งยังคงสนใจรักษาสืบทอดตัวสื่อนี้ไว้”th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectอำนาจของผู้หญิงth
dc.subjectผู้หญิงล้านนาth
dc.subjectพื้นที่สื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า)th
dc.subjectการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างอำนาจth
dc.subjectWoman's Poweren
dc.subjectLanna Womenen
dc.subjectRitual Media Space to Worship Ancestral Spirits (Phi Pu Ya)en
dc.subjectCommunication for Empowermenten
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationInformation and communicationen
dc.subject.classificationSociology and cultural studiesen
dc.titleการสื่อสารของผู้หญิงล้านนาเพื่อเสริมสร้างอำนาจในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า)th
dc.titleLanna Women’s Communication for Empowerment in Ritual Media to Worship Ancestral Spirits (Phi Pu Ya)en
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorTikamporn Eiamreraien
dc.contributor.coadvisorทิฆัมพร เอี่ยมเรไรth
dc.contributor.emailadvisortikamporne@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisortikamporne@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Communication Artsen
dc.description.degreedisciplineภาควิชานิเทศศาสตร์th
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TippatooKitsuntorn.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.