Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5270
Title: การพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแบบ Pop Culture
The Development of Cultural Areas as a Pop Culture Tourism Destination.
Authors: CHONNIPA FAIMANOTHAM
ชนม์นิภา ใฝ่มะโนธรรม
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
Naresuan University
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
siripend@nu.ac.th
siripend@nu.ac.th
Keywords: วัฒนธรรมกระแสนิยม
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
พื้นที่ทางประวัติศาสตร์
พื้นที่ทางวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวแบบ Pop Culture
Popular Culture
Tourism development
Historical area
Culture area
Pop Culture Tourism
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: Drama-induced tourism is an increasingly popular form of pop culture tourism nowadays. But the development of the TV series location to become a tourist attraction is different. especially the area that has never been a tourist attraction and an area that is a tourist attraction. This research aims to propose a guidelines for the development of cultural areas as a Pop Culture tourism destination. Using qualitative approach with in-depth interview as a technique to collect data from 6 local government officers and 30 local residents. Content analysis and text analysis were used for data analysis. The results showed that A cultural area that was never a tourist attraction. It is necessary to create tourism resources and apply the local identity culture to tourism. to show the identity of the community. And the historical area has the potential to be a sufficient tourist attraction. that can attract tourists But still need to improve for tourism goods and services, landscape and facilities. Moreover, social media is vital for both areas to create tourist awareness and interests.  
การเดินทางท่องเที่ยวตามกระแสละครเป็นรูปแบบการท่องเที่ยว Pop Culture ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่การพัฒนาสถานที่ถ่ายทำละครให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวกับพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว Pop Culture โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ภาครัฐจำนวน 6 คน และประชาชนในพื้นที่จำนวน 30 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อความในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ไม่เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการสร้างทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและการนำวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาใช้ในการท่องเที่ยวที่ แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และส่วนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ยังต้องปรับปรุงสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และพื้นที่ทั้งสองแห่งยังต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวสนใจอย่างสม่ำเสมอ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5270
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChonnipaFaimanotham.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.