Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5257
Title: | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองร่วมกับการฟ้อนเจิงประยุกต์ ต่อพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และการทรงตัวของผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ Effects of the Self-Efficacy Enhancement Program with the Applied Fon Jerng Dance on Falls Prevention Behaviors and Balance among Elderly in Phrae Province |
Authors: | Natrudee Sribudta นาฏฤดี ศรีบุตรตา Somsak Thojampa สมศักดิ์ โทจำปา Naresuan University Somsak Thojampa สมศักดิ์ โทจำปา somsakth@nu.ac.th somsakth@nu.ac.th |
Keywords: | ฟ้อนเจิงประยุกต์ ความสามารถตนเอง การทรงตัว พฤติกรรมการพลัดตกหกล้ม ผู้สูงอายุ The applied Fon Jerng dance Self-efficacy Balance Falls prevention behavior Elderly |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This quasi-experimental two groups pretest – posttest design was aimed to study the effects of a self-efficacy enhancement program combined with the applied Fon Jerng dance on fall prevention behaviors and balancing of the elderly in Phrae Province. The sample group were elderly people aged 60 years and over who were found to be at risk of falls. Using multi-stage sampling and purposive sampling and separated, 30 people were enrolled into the experimental group with a duration of 8 weeks. The tools were: 1) Fall prevention behavior questionnaires in the elderly, 2) Self-efficacy enhancement program by applying the self-efficacy theory which, their content validity. The item objective congruence equal to 0.87 and 0.92, respectively. Data were analyzed using of frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test statistics were analyzed. Average score of balance of the elderly after the experimental group was a statistically significant difference at the .001 level and the comparison of differences after the experiment. between the experimental group and the control group It was found that the mean score of fall prevention behavior and the mean score of balance of the elderly in the experimental group was significantly better than the control group (p< .001). And it was found that the mean score of fall prevention behaviors and the mean score of balance of the elderly in the experimental group was better than the control group. There was a statistically significant difference at the .001 level, and the comparison results after the experiment. between the experimental group and the control group It was found that the mean score of fall prevention behavior and the mean scores of balances in the elderly of the experimental group were better than the control group. There was a statistically significant difference at the .001 level.
The results of this study can promote fall prevention behavior and the improve balance among elderly. To gain confidence in performing activities and practicing doing it yourself continuously. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลัง (Two groups pretest – posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองร่วมกับการฟ้อนเจิงประยุกต์ ต่อพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การทรงตัวของผู้สูงอายุ ในจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พบความเสี่ยงพลัดตกหกล้ม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ใช้เครื่องมือ 1) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ 2) โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองร่วมกับการฟ้อนเจิงประยุกต์ ร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเอง มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.87 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ Paired t-test และสถิติการวิเคราะห์ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองหลังเข้าโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และคะแนนเฉลี่ยการทรงตัวของผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และผลเปรียบเทียบความแตกต่างหลังการเข้าร่วมโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และคะแนนเฉลี่ยการทรงตัวของผู้สูงอายุของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลวิชาชีพสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ โดยการปฏิบัติกิจกรรมและฝึกทำด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5257 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NatrudeeSribudta.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.