Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5209
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPATTHRAPORN THONGSANGen
dc.contributorภัทราพร ทองสังข์th
dc.contributor.advisorNongnuch Obaen
dc.contributor.advisorนงนุช โอบะth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2023-03-20T02:18:24Z-
dc.date.available2023-03-20T02:18:24Z-
dc.date.issued2564en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5209-
dc.descriptionMaster of Nursing Science (M.N.S.)en
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)th
dc.description.abstractThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of Self-efficacy Program for nutrition management on dietary behaviors and body mass index among overweight grade 11th students. Sample groups were 60 overweight grade 11th students of the 2020 academic year. They were divided in experimental and control group (30 persons per each group). Self-efficacy program for nutrition management; promoting the ability to lose weight through successful experiences, learning weight loss experience, persuasion with words and pictures through online media and emotional management were intervened to experimental group for twelve weeks. Research colleting instruments were a dietary behavior questionnaire and body mass index form. All instruments were proofed the content validity by 5 experts. The content validity of questionnaire was 0.87 while the reliability of coefficient alpha Cronbach was 0.85. Data were analyzed by using mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test. The results found that: 1. After intervention, the overweight students of experimental group had significantly higher mean score of dietary behaviors than before intervention (p<.001). 2. After intervention, the overweight students of experimental group had significantly lower mean score of body mass index than before intervention (p<.001). 3. After intervention, the overweight students of experimental group had significantly higher mean score of dietary behaviors than the control group (p<.001) and had significantly lower mean score of body mass index than the control group (p<.001). These results presented that this Self-efficacy Program for nutrition management was effective to improve positive dietary behaviors and reduce body mass index of overweight students.en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และค่าดัชนีมวลกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563  ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการ ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมความสามารถในการลดน้ำหนักผ่านประสบการณ์ความสำเร็จ การเรียนรู้ประสบการณ์ลดน้ำหนัก   การชักจูงด้วยคำพูดและภาพ ผ่านสื่อออนไลน์ และการจัดการภาวะอารมณ์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และแบบบันทึกค่าดัชนีมวลกาย ได้รับการตรวจเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร นำมาหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.87 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าดัชนีมวลกายก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าดัชนีมวลกายหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test   ผลการวิจัย พบว่า 1. ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ (p<.001) 2. ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของตนเอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) 3. ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการ ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) และค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการมีผลทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มทดลองที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น และค่าดัชนีมวลกายลดลงth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนth
dc.subjectพฤติกรรมการบริโภคอาหารth
dc.subjectค่าดัชนีมวลกายth
dc.subjectนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาth
dc.subjectภาวะน้ำหนักเกินth
dc.subjectSelf-efficacy programen
dc.subjectDietary Behavioren
dc.subjectBody Mass indexen
dc.subjectHigh school studenten
dc.subjectOverweighten
dc.subject.classificationNursingen
dc.titleผลของโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนเพื่อการจัดการภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกาย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินth
dc.titleEFFECTS OF THE SELF-EFFICACY PROGRAM FOR NUTRITION MANAGEMENT ON DIETARY BEHAVIORS AND BODY MASS INDEX OF OVERWEIGHT GRADE 11 STUDENTS.en
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061429.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.