Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PEERANUCH PUNPUKDEE | en |
dc.contributor | พีรนุช พันธุ์ภักดี | th |
dc.contributor.advisor | Worawan Tipwareerom | en |
dc.contributor.advisor | วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Nursing | en |
dc.date.accessioned | 2023-03-20T02:18:24Z | - |
dc.date.available | 2023-03-20T02:18:24Z | - |
dc.date.issued | 2564 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5208 | - |
dc.description | Master of Nursing Science (M.N.S.) | en |
dc.description | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.) | th |
dc.description.abstract | The following is a description of the research conducted in this study. The purpose of this study was to determine the predictive ability of children, families, and environmental variables in predicting the risk of attention deficit hyperactivity disorder in early elementary school students, as seen by parents. The variables included kid characteristics such as sex, punished by teacher, the teacher called to meet the parents, repeating class, break from school, school transfer, and living. Factors affecting the family included love and care, upbringing, health care, and family income allocation. Environmental variables included the amount of time spent on technological media and the media addiction to technology. This survey enrolled 358 parents of students in the first grades 1-3 at schools administered by the Phitsanulok primary educational service area office 1 in Muang district, Phitsanulok province. The questionnaire consisted of six sections: 1) parent information, 2) children information, 3) child factors questionnaire, 4) family factors questionnaire has cronbach's alpha reliability coefficients 0.827, 5) environmental factors questionnaire has cronbach's alpha reliability coefficients 0.906, and 6) SNAP IV ADHD risk screening form (short form), Thai version. Data were analyzed using frequency statistics, percentage, mean, standard deviation, pearson's correlation, chi-square test, and binary logistic regression analysis. The findings were as follows; The primary school students had a risk of ADHD was 39.4%, most of them were children who were hyperactivity, 34.7%. Factors related to the risk of ADHD in primary school students were the teacher called to meet the parent, repeat class, family income allocation (r = -.189), and technology media addiction behavior (r = .361) which was able to predict the risk of ADHD by 35.1% and the predictive efficiency was 72.1% with a statistical significance at the .05 level. It may be expressed as the following logistic equation: Log (child's likelihood of ADHD risk/likelihood child's of not having ADHD risk) = -.899 +4.052(the teacher called to meet the parent) +3.436(repeat class) -.072 (family income allocation) +.113(technology media addiction behavior) | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถร่วมกันทำนายของปัจจัยด้านตัวเด็ก ด้านครอบครัว และด้านสิ่งแวดล้อมต่อความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นตามการรับรู้ของผู้ปกครอง ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวเด็ก ประกอบด้วย เพศ การถูกครูทำโทษ ครูเรียกพบผู้ปกครอง การเรียนซ้ำชั้น หยุดพักการเรียน เปลี่ยนโรงเรียน และการอยู่อาศัย ปัจจัยด้านครอบครัว ประกอบด้วย ความรักความเอาใจใส่ การอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพ และการจัดสรรรายได้ครอบครัว ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ระยะเวลาในการใช้สื่อเทคโนโลยี และพฤติกรรมการติดสื่อเทคโนโลยี โดยทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 358 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง 2) ข้อมูลทั่วไปของเด็ก 3) แบบสอบถามปัจจัยด้านตัวเด็ก 4) แบบสอบถามปัจจัยด้านครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราค 0.827 5) แบบสอบถามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราค 0.906 และ 6) แบบประเมินพฤติกรรม SNAP IV ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นมีความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นร้อยละ 39.4 โดยมีอาการซน อยู่ไม่นิ่งมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 34.7 และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นตามการรับรู้ของผู้ปกครอง ได้แก่ ครูเรียกพบผู้ปกครอง การเรียนซ้ำชั้น การจัดสรรรายได้ของครอบครัว (r = -.189) และพฤติกรรมการติดสื่อเทคโนโลยี (r = .361) ซึ่งสามารถทำนายความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นได้ร้อยละ 35.1 และมีประสิทธิภาพการทำนายถูกต้องร้อยละ 72.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนเป็นสมการโลจิสติกได้ ดังนี้ Log (โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นของนักเรียน/โอกาสที่จะไม่เกิดความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นของนักเรียน) = -.899 +4.052(ครูเรียกพบผู้ปกครอง) +3.436(เรียนซ้ำชั้น) -.072(การจัดสรรรายได้ของครอบครัว) +.113(พฤติกรรมการติดสื่อเทคโนโลยี) | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | ความเสี่ยงโรคสมาธิสั้น | th |
dc.subject | เด็กประถมศึกษาตอนต้น | th |
dc.subject | ปัจจัยทำนาย | th |
dc.subject | attention deficit hyperactivity disorder risk | en |
dc.subject | elementary school student | en |
dc.subject | predictive factor | en |
dc.subject.classification | Nursing | en |
dc.title | ปัจจัยทำนายความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นตามการรับรู้ของผู้ปกครอง | th |
dc.title | Predictive factors for attention deficit hyperactivity disorder among primary school students according to parent's perception | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62061405.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.