Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5207
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพทางเพศของนักเรียนชาย มัธยมศึกษาตอนปลาย
Factors Associated with Sexual Health Literacy of High School Boys 
Authors: EAKKAWEE HOMKHAJORN
เอกกวี หอมขจร
Yuwayong Juntarawijit
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร
Naresuan University. Faculty of Nursing
Keywords: ความรอบรู้สุขภาพทางเพศ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โมเดลเชิงนิเวศวิทยา
นักเรียนชาย
Sexual Literacy
Sexual Transmitted Disease
Ecological Model
High School boy
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to investigate the association between sexual health literacy and its association factors among male high school a boys. A multi-stage sampling technique was carried out so that we could select 373 male students in the secondary school, for the academic year 2021 that are under service area office 42, in Nakhon Sawan Province. The data was collected via online questionnaires between July and September 2021. It was divided into three parts: 1) personal information 2) association factor that included teacher’s roles, school policies, friend and family relationships and 3) sexual health literacy. The validity of content was reviewed by 5 experts, and the Index of Consistency (IOC) was 0.6 – 1 The reliability of the knowledge of sexually transmitted diseases and prevention methods using KR-20 was 0.81 while the reliability of association factors and the sexual health literacy using Cronbach's alpha coefficient ware 0.71 - 0.81 Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient to test the association between variables.       The results showed that the overall subjects' sexual health literacy was as a moderate level (x̄ = 3.22, S.D. = 0.29). The factors associated with sexual health literacy were teacher role factors (r = .469, p < .05), school policy factors (r = .432, p < .001), friend factors (r = .224, p < .001), family relationship factors. (r = .214, p < .001), the knowledge of sexually transmitted diseases and prevention methods (r =.122, P < 0.05)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนครสวรรค์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6 ) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และอยู่ในสังกัดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 373 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในช่วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2564 เครื่องมือเป็นแบบสอบถามระบบออนไลน์ (Online Questionnaire) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ระดับปัจจัย 3) ความรอบรู้สุขภาพทางเพศ ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน  ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.6 – 1 วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ แบบสอบถามด้านความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีป้องกัน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.81 แบบสอบถามระดับปัจจัย และแบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพทางเพศ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.71 - 1.81 ตามลำดับ และวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน       ผลการศึกษา พบว่า  ความรอบรู้สุขภาพทางเพศของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.22, S.D. = 0.29)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพทางเพศในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่  ปัจจัยด้านบทบาทของครูมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลาง  (r = .469, p < .05)  ปัจจัยด้านนโยบายโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง  (r = .432, p < .001)  ปัจจัยด้านการคบเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r = .224, p < .001) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพครอบครัวมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (r = .214, p < .001) และปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีป้องกันมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (r = .122, p < .05)
Description: Master of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5207
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060415.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.