Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5206
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ในผู้ต้องขังจังหวัดพิษณุโลก Factors associated with Influenza Prevention Behaviors among Prisoners in Phitsanulok Province |
Authors: | KLINRAM THODSOONGNERN กลิ่นร่ำ ทอดสูงเนิน Yuwayong Juntarawijit ยุวยงค์ จันทรวิจิตร Naresuan University. Faculty of Nursing |
Keywords: | โรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ต้องขัง พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ Influenza Prevention behavior against Influenza Health Belief Model Prisoners |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This descriptive research was based on Health Belief Model concept. The sample population consisted of 406 prisoners aged 20 and over. The simple random sampling was used to select the subjects. The research instrument was in the form of a questionnaire developed by the researcher. All of the questionnaire were tested for the content validity by 5 experts, the IOC between 0.6 -1. The reliability of Knowledge section was tested using KR 20 was 0.9, and Health Belief Model and Prevention behavior tested using Cronbach’s Alpha were 0.74 - 0.86. The data were analyzed by using descriptive statistics, Point-biserial correlation, and the Spearman’s rank-order correlation at the .05 level of significance.
The results indicated that concomitant diseases and knowledge of influenza correlated with influenza prevention behaviors were statistically significant (r= -.108, .190, p< .05), respectively. Individual perception concerning Influenza included: perceived susceptibility of Influenza; perceived severity of Influenza; perceived benefits of the prevention against Influenza; perceived barriers of the prevention against Influenza; and Cue to action that will lead to effective measures for the prevention against Influenza.were statistically significant associated to influenza prevention behaviors amongst prisoners in Phitsanulok Province (r=.252, .304, .368, .391, .470, p< .05), respectively. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ต้องขังในเรือนจำในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 406 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และหาความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนความรู้ โดยใช้สูตร KR20 ได้เท่ากับ 0.90 และสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราคของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้เท่ากับ 0.74-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Point-biserial correlation และสถิติ Spearman's rank order correlation ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยร่วม ได้แก่ โรคประจำตัว และความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.108, .190 ตามลำดับ p< .05) ปัจจัยด้านการรับรู้ส่วนบุคคล พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงการป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ การรับรู้ประโยชน์พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ การรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และสิ่งชักนำการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .252, .304, .368, .391, .407 ตามลำดับ p< .05) |
Description: | Master of Nursing Science (M.N.S.) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5206 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62060408.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.