Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5204
Title: ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์
Predicting Factors of Health Literacy in Patients with Type 2 Diabetes, Uttaradit Province
Authors: KANJANA FAUNGFOO
กาญจนา เฟื่องฟู
Chuleekorn Danyuthasilpe
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์
Naresuan University. Faculty of Nursing
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การรับรู้ภาวะสุขภาพ
การสนับสนุนทางสังคม
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
Health literacy
patients with type 2 Diabetes Mellitus
Perception of health status
Social support
Effective communication
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this predictive correlational research study was to study factors predicting health literacy among patients with type 2 diabetes mellitus, in Uttaradit Province. There were 200 patients with type 2 diabetes mellitus participating in the study, aged 30 years and older, who were selected by multi-stage random sampling. The research instruments used, showing the reliability of Cronbach’s alpha coefficient , included a perception of health status questionnaire (0.87), a social support questionnaire (0.91), an effective communication questionnaire (0.92), and a health literacy questionnaire (0.96), and they had all been tested for content validity with a score of 0.90. The data were analyzed by descriptive statistics and enter regression analysis. 1. The results revealed that health literacy was at a moderate level (Average = 104.12, Strandard deviation = 19.50). 2. Perception of health status, social support and effective communication were found as good combine predictions of health literacy among the patients, with 59.1% of variance (R2 = .591, p < .001).   These results suggest that community nurse practitioner should concern effective communication and social support in order to promote better awareness of health behavior and to enhance health literacy among patients with type 2 diabetes mellitus.
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity index, CVI) ของเครื่องมือดังกล่าวเท่ากับ 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.87, 0.91, 0.92 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิธีปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 104.12, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 19.50) 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถร่วมทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และสามารถทำนายความแปรปรวนของความรอบรู้ด้านสุขภาพได้ร้อยละ 59.1 (R2 = .591)     ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนทางสังคมและส่งเสริมการรับรู้ภาวะสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น
Description: Master of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5204
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060416.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.