Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5059
Title: การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคมผ่านชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
The Development of Historical Thinking for Social Literacy through Historical Learning Activity Package by Using Museum-Based Learning for Secondary Students
Authors: Kiattisak Wongliang
เกียรติศักดิ์ วงษ์เลี้ยง
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
การคิดทางประวัติศาสตร์
การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
การจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน
การรู้เท่าทันสังคม
learning activity package
Historical Thinking
Historical learning management
Museum-based learning
Social literacy
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were to 1) study current situation of learning management for promoting historical thinking of secondary students and 2) develop historical learning activity package by using museum-based learning in promoting historical thinking for social literacy of secondary students. This mixed methods research was 1) the qualitative research by interviewing 7 informants in order to study current situation of learning management for promoting historical thinking of secondary students. The key informants were experimental teachers, university lecturers, and curator. They were selected by purposive sampling, according to the criteria. 2) The quantitative research was to collect information after using historical learning activity package with 23 students in Mathayomsuksa 3 at Banyangmuang School. The research instruments were 1) historical learning activity package 2) historical thinking for social literacy test 3) historical thinking assessment form 4) in-depth interviews. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent and analytic induction. The research results was as follows: The results of current situation of learning management for promoting historical thinking found that learning management was followed basic education core curriculum. The teaching methods were lecture, using historical method and media instruction for learning activity. Teacher’s roles were that teachers prepared for teaching, were good attitude open minded and approved the student’s opinions. Student’s roles were listeners and sometimes responding the questions in the classroom. The students saw that history was far away from themselves which resulted boredom and lack of learning incentive. The result of development historical learning activity package by using museum-based learning in promoting historical thinking for social literacy of secondary students found that 1) the process of development learning activity package was that the researcher studied current situation of learning management, informants’ advices, constructivist theory of learning, and learning management by using activity package and learning resources for creating learning activity package. The theoretical elements in creating learning activity package included 1.1) manual and learning plan 1.2) explanation 1.3) content and instruction media 1.4) measurement and evaluation. Learning activity package was appropriate recommended as follow experts at high level. 2) The implementation of learning activity package was 5 steps; 2.1) Pretest 2.2) Introduction 2.3) learning activities process 2.4) conclusion of learning process 2.5) evaluation process. 3) The result of using learning activity package was that the students had historical thinking for social literacy higher than the pre-test with the statistical significance level of 0.05. The students were able to be chronological, understand and evaluate historical evidences, historical analysis and interpretation lead to social literacy effectively.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานในการส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยเก็บข้อมูลดังนี้ คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มครูผู้มีประสบการณ์ กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย และภัณฑารักษ์ ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 7 คน เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยการประเมินผลทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคม ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยางเมือง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคม 3) แบบประเมินทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ 4) แนวคำถามเชิงลึก ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ พบว่า ด้านหลักการจัดการเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ วิธีการจัดการเรียนรู้มีการใช้การบรรยาย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ และใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน ด้านบทบาทผู้สอน พบว่า ครูมีการเตรียมตัวก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีทัศนคติที่ดี ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน ด้านผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ฟัง มีการตอบคำถามในชั้นเรียนบ้างบางส่วน และมองว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัว ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียน ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานในการส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า 1) กระบวนการพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยนำข้อมูลจากสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ คำแนะนำของผู้ให้ข้อมูล และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ มาใช้ในการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยองค์ประกอบของชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1.1) คู่มือครูและแผนการจัดการเรียนรู้ 1.2) คำชี้แจงหรือคำแนะนำ 1.3) เนื้อหาสาระและสื่อในการจัดการเรียนรู้ 1.4) การวัดผลประเมินผล ส่งผลให้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีผลการประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดกิจกรรมทั้ง 4 ชุด โดยภาพรวมมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก 2) การนำชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ขั้นการทดสอบก่อนเรียน 2.2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนรู้ 2.3) ขั้นดำเนินกิจกรรม 2.4) ขั้นสรุปบทเรียน 2.5) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 3) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้พบว่า ผู้เรียนมีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนสามารถลำดับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ เข้าใจและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน วิเคราะห์และตีความเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นำไปสู่การรู้เท่าทันสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5059
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63061459.pdf14.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.